Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   สัมภาษณ์พิเศษ: ”อะมานะฮ์ ลิสซิ่ง “ ใต้เงานโยบายใหม่

สัมภาษณ์พิเศษ : ”อะมานะฮ์ ลิสซิ่ง “ ใต้เงานโยบายใหม่

โดย : เอกราช มูเก็ม

                  สำนักข่าวอะลามี่ : บริษัท อะมานะฮ์ ลิสซิ่ง จำกัด(มหาชน) เป็นบริษัทดำเนินธุรกรรมด้านลิสซิ่ง ที่ยึดหลักระบอบชารีอะห์ แห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทลูกองธนาคารอิสลาม

                

                    เรามาดูทิศทางการทำงานของ บริษัท อะมานะฮ์ ลิสซิ่ง จำกัด ว่าจะเดินหน้าอย่างไร โดยผ่านมุมมอง ” สติ ศังขวนิช ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท อะมานะฮ์ ลิสซิ่ง จำกัด(มหาชน)  

                    นโยบายของบริษัทอามานะฮ์ ลิสซิ่ง ในฐานะเป็นบริษัทลูกของธนาคารอิสลาม หลังมีการเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ ก็มีการเปลี่ยนแปลงบ้าง เช่น เปลี่ยนตัวธุรกรรมสินเชื่อ ซึ่งจากนี้ไป ตัวที่เป็นสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อบุคคล และสินเชื่อรถยนต์ และตัวกลุ่มลูกค้าเป้าหมายก็ชัดมากขึ้น จะเข้าถึง ผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับชาวไทยมุสลิมในทุกภูมิภาคของประเทศมากขึ้น

                  “ เป็นนโยบายที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของธนาคาร คือเป็นธนาคารทางเลือก บทบาท อะมานะฮ์หลังจากนโยบายอันที่ 1 คือนโยบายเรื่องสาขา เดิมแบงก์หวังว่าเราจะช่วยขายผลิตภัณฑ์และบริการ แต่นโยบายใหม่ สาขาของแบงก์ ที่มีอยู่กว่า100 สาขาธุรกรรมยังน้อย ยังพอมีพื้นที่ว่าง ทางแบงก์ ให้ทางเราทบทวน ว่ายังพอมีพื้นที่ไหนในสาขาแบงก์มีพื้นที่ว่าง ใกล้กับลูกค้าเป้าหมายของเรา และให้เราสามารถไปเช่าพื้นที่ มีพื้นที่บูธและขายผลิตภัณฑ์ของเราได้

                   “สิ่งนี้เราต้องกลับมาทบทวนแผนใหม่ และเพิ่มช่องทางในการขายผลิตภัณฑ์ “

                   ส่วนประเด็นที่ 2 ในเรื่องของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่จะเข้าไปใกล้ และเข้าถึงชาวไทยมุสลิมมากขึ้นคงตามกันไป ถ้าแบงก์มีการย้ายสาขาที่ไม่ทำกำไร และจะไปเปิดใหม่ที่ใกลักับชุมชนมุสลิมชุมชนการค้ามุสลิม โอกาสที่ลูกค้ากลุ่มเดียวกันจะใช้บริการของอามานะฮ์ลิสซิ่งใช้บริการไปพร้อมๆกัน

                   “ ตอนนี้เรามีเพียง 7 สาขาเหมือนเดิม สาขาที่ลงทุนไปแล้วก็คือ ภาคอีสาน 4 จังหวัด ส่วนชลบุรี ภูเก็ต และพระนครศรีอยุธยา ตอนนี้เรากำลังปรับแผน คือเราพยายามที่จะไม่ลงทุน ในพื้นที่แบงก์มีสาขาอยู่แล้ว แต่เราจะเข้าไปใช้พื้นที่ของแบงก์มากขึ้น เช่น พระนครศรีอยุธยาและชลบุรี พระนครศรีอยุธยาแบงก์อยู่ในโลตัส คือไม่ใข่ชุมชนถ้าเราเลือกออฟฟิศใหม่ เราจะต้องเข้าไปอยู่ในชุมชนมุสลิมและยังคงนโยบายเดิม ถ้าใช้บริการแบงก์อยู่แล้ว ก็คือสามารถรับชำระสินเชื่อ ค่าสาธรณูปโภค ยกตัวอย่างชลบุรี แบงก์อยู่ที่เซ็นทรัล ก็ไม่ตรง คือเรามีสาขาในพื้นที่อยู่ที่หนองมน ก็ยังไม่ใช่ชุมชนมุสลิม เพราะมีแม่ค้าที่เป็นมุสลิมน้อยมาก”

                  ผุู้บริหาร อะมานะฮ์ ลิสซิ่ง  มองว่า สำหรับสาขาที่เป็นสาขาของเราเองก็จะต้องช่วยแบงก์ขายผลิตภัณฑ์ ที่มีพื้นที่ว่างจะเอาคนของเราเข้าไปขายผลิตภัณฑ์  โดยเฉพาะในพื้นที่ 5 จังหวัด เราอาจจะลดจำนวนตามความเหมาะสม อาทิเช่น อาจเปิดที่สงขลาที่เดียวก็พอ

                   นอกจากนี้ก็ส่งเจ้าหน้าที่ของเราเข้าไปให้บริการในแบงก์ มองว่านโยบายนี้ น่าจะเป็นนโยบายที่ดี เพราะไม่จำเป็นต้องแยกแบรนด์ ดูจากโลโก้เดียวกัน เพียงแต่สีรอบนอกเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะยิ่งถ้าเราย้ายเข้าไปอยู่ในแบงก์ ความคุ้มของแบรนด์ที่มีความแข็งแรงอยู่แล้ว มันจะยิ่งตอกย้ำมากขึ้น

                สำหรับใน ปี 56 แม้ว่าอาจไม่ได้มีอะไรใหม่ เพราะใช้กลยุทธเดิมดีอยู่แล้วเพราะบริษัทเรามีขนาดที่ไม่ใหญ่ โดยปี 55ที่ผ่านมามีผลตอบแทนเป็นกำไรสุทธิประมาณ 16ล้านบาท ซึ่งเติบโตจากปี 54 ที่ 11.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น40%

              “ ถ้าดูเป็นเปอร์เซ็นต์ เป็นตัวเลขที่น่าพอใจ และถ้าดูย้อนหลังไป 5 ปี น่าพอใจมาก “ คุณสติ กล่าวและว่า



               สำหรับอะมานะฮ์ ลิสซิ่ง  เป็นลิสซิ่งที่ยึดหลักการระบบชารีอะห์และเป็นเป็นอิสลามิกลิสซิ่ง แห่งแรกและที่เดียวของประเทศ เรามองว่าเป็นจุดแข็งและมีความท้าทาย ทั้งนี้จะสอดรับกับพันธกิจของธนาคารโดยเฉพาะโครงการจากภาครัฐ เช่นโครงการรถสาธารณะ โครงการรถแท็กซี่ ถ้าเป็นโครงการภาครัฐและเป็นเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐ การทำธุรกรรมจะมอบรับให้เราทำ ซึ่งแต่เดิมไม่ชัดเจน แต่ตอนนี้ชัดเจน โครงการอยู่ที่ธนาคารอิสลาม เรามีหน้าที่ทำตามนโยบายและสนองความต้องการของภาครัฐ

               นอกจากนี้ในส่วนของลูกค้าภายนอกในอดีตต่างคนต่างเดิน ตอนนี้จะใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยการส่งพนักงานเข้าไปในสาขาของธนาคาร เพราะฉะนั้นความใกล้ชิดก็มีมากขึ้น  การแนะนำลูกค้าที่ใช้บริการเงินฝากหรือใช้บริการสินเชื่ออื่น ที่ต้องการมีรถ ก็จะใกล้มากขึ้น แต่เดิมเจ้าหน้าที่แบงก์ ก็พยายามแนะนำลูกค้าให้ แต่ด้วยการสื่อสารก็ประสบความสำเร็จน้อย แต่ถ้าเราเข้าไปอยู่เลย ก็น่าจะประสบความสำเร็จโดยตรง

               สติ กล่าวว่า จากนี้ไปเราจะทำอย่างไรให้คนรู้จักอะมานะห์และเดินเข้ามาใช้บริการมากขึ้น เราแบ่งเป็นกลุ่มลูกค้า ถ้าเราใช้สินเชื่อรถยนต์ใหม่ และดีเลอร์ของรถยนต์ใหม่ ซึ่งอันนี้เรายังคงนโยบายเดิมไว้ เราคงยังอยู่ รถยนต์สาธารณะ และผลตตอบแทนที่ดี

              “ตอนนี้เราต้องรอ ศุกุก เป็นแหล่งทุนใหญ่ จังหวะที่ยังรออยู่ เรายังไม่อยากเติบโตมาก ในปี56 เราจะพยายามครองตัวก่อน รอบริษัทแม่ทำแผนเพิ่มทุนเสร็จแล้ว

                สติ บอกว่า ในส่วนของการคืนกำไรสู่สังคมว่าเรากำลังดูระบบที่ยั่งยืน พยายามศึกษาและรณณงค์โปรเจ็ค กรีนฮาร์ท เราดูเรื่องการเปิดแอร์ น้ำ ไฟ เราจะระมัดระวังมากขึ้น เริ่มปิดไฟ เปิดแอร์เท่าที่จำเป็น กำลังทำเรื่องคาร์บอนพริ้น โดยร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา เก็บกวาดกระดาษที่ไม่ใช้ บริจาค สามารถไปสร้างรายได้ โดยเอาเงินไปช่วยเหลือเด็กยากจน

               “ พูดถึงเรื่องซะกาต เป็นเรื่องของสังคมและความอยู่รอดเราบอกตลาดหลักทรัพย์ว่า ความเป็น CSR  เราควรเป็นตั้งแต่เกิด เพราะว่าหลักการของเรา เราปิดบังเรื่องของสัญญาไม่ได้ เราไปโฆษณาแอบแฝงไม่ได้ ทุกอย่างทำได้หมด เป้าหมายไม่ได้ทำเรื่องไม่ถูกต้อง ระบบชารีอะห์ของเราคือการเติบโตธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งตรงกับโปรเจ็คของเรา”

ตีพิมพ์ครั้งแรก : นิตยสาร ดิ อะลามี่ ฉบับเดือนเมษายน 2556