Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   ทูตออสเตรเลียได้รับการแต่งตั้ง เป็นทูตประจำ OIC

ทูตออสเตรเลียได้รับการแต่งตั้ง เป็นทูตประจำ OIC

           สำนักข่าวอะลามี่: การประชุมที่กรุงริยาร์ด ประเทศซาอุดิอารเบีย เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศแต่งตั้ง ทูตออสเตรเลียประจำ OIC อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้คำแถลงของออสเตรเลีย ระบุว่า ที่ผ่านมา ออสเตรเลียมีความใกล้ชิดกับประเทศในกลุ่มอ่าว มากขึ้น

            นอกจากนี้ ออสเตรเลียในฐานะประเทศเพื่อนบ้านกับอินโดนีเซีย และเป็นประเทศมุสลิมที่มีประชากรมากที่สุดในโลก รัฐบาลก็ได้ปรับท่าทีความสัมพันธ์อันลึกซึ่งมากขึ้นเช่นกัน

           ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซี่ยน บอกกับ สำนักข่าวอะลามี่ ว่า  ที่ผ่านมาออสเตรเลียพยายามสร้างความเป็นมิตรกับกลุ่มประเทศ OIC โดยการเข้าไปส่งเสริมความสัมพันธ์ ทำความเข้าใจด้วยการวัฒนธรรมเสวนา ความเชื่อ

           ทั้งนี้ การดำเนินการสานสัมพันธ์ประเทสกลุ่มOIC ด้วยความสัมพันธ์ผ่านนักเรียนต่างชาติจากกลุ่มประเทศ OIC ในออสเตรเลีย ในปี 2101 มี 86,000 คน ในจำนวนนี้มีนักเรียนทุนมากถึง1,200คน โดยผ่าน โครงการออสเตรเลียอวอร์ด สกอล่าร์ชีพ โปรแกรม

           ดร.สุรินทร์ บอกว่า ที่ผ่านมารัฐบาลออสเตรเลียระบุว่าได้ให้การช่วยเหลือ ประเทศกาต้าร์ 3900 ล้านเหรียญออสเตรเลีย/ปี นอกจากนี้ยังให้การช่วยเหลือประเทศอื่นอีก1300ล้านเหรียญออสเตรเลียกลับกลุ่มประเทศOIC ช่วยเหลือด้านการแพทย์ต่อปากีสถาน 75ล้านเหรียญ สร้างโรงเรียน และปอเนาะในอินโดนีเซียในรอบ5ปีที่ผ่านมาถึง2000 แห่งโดยร่งวมกับ ดาตุลอูลามาะห์ (NOU)ของอินโดนีเซียและสร้างมัสยิด ในอัฟกานิสถานอีก 2000แห่ง

            เขายังอ้างว่า ยังให้การช่วยเหลือประเทศอียิปต์ด้านการเกษตร และด้านเศรษฐกิจกว่า20ล้านเหรียญออสเตรเลีย อีกทั้งยังมีความสำคัญกับเรื่องมนุษยธรรมในประเทศลิเบีย นอกจากนี้ยังเป็น 1ใน10 ประเทศที่ให้การช่วยเหลือปาเลสไตน์มากที่สุด

            Mr.Fahour  มุสลิมเชื้อสายเลบานอล เป็นประธานความสัมพันธ์ออสเตรเลีย-อาหรับ ล่าสุดเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้แทนพิเศษประจำOICของออสเตรเลีย นับเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์และเปลี่ยนโฉมหน้าให้ในด้านนโยบายต่างประเทศของออสเตรเลีย

          นอกจากนี้ออสเตรเลีย เพื่อให้ให้แผนการดำเนินการออสเตรเลีย-อาหรับลุล่วงรับบาลออสเตรเลีย ยังได้เตรียมจะเชิญเลขาธิการ OIC มาประชุมใน โครงการพันธมิตรวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (AOC)  ด้วย

          ดร.สุรินทร์ ให้ความเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่า ปรากฎการณ์ดังกล่าวเชื่อว่าเป็นตามการพัฒนาของโลก เนื่องจากประเทศกลุ่มอาหรับหรือประเทศในกลุ่ม OIC เป็นตลาดใหญ่ เป็นแหล่งเงินทุน มีพลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะเพื่อนบ้าน ที่มีประชากรมากกว่า 240ล้านคน

          “ปัจจุบันอินโดนีเซียมีเสถียรภาพทางการเมืองมากขึ้น เป็นประเทศผู้ผลิตรถยนต์มากเป็นอันดับสองรองจากประเทศไทย มีก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ เหมืองแร่ ถ่านหิน ทรัพยากรทางทะเลสำคัญคือ แหล่งปลามากที่สุดแห่งหนึ่ง” ดร.สุรินทร์ กล่าวและว่า

        ที่ผ่านมาอาเซี่ยนเองก็มีการประชุม และมีพูดคุยกันในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ เรื่องพลังงานและการท่องเที่ยว ขณะที่ประเทศไทยนั้นยังน่าเป็นห่วงเรื่องการแข่งขัน แม้ว่าปัจจุบันจะมีแนวโน้มว่า การเมืองจะชัดเจนมากขึ้น และเป็นไปตามระบบ รวมถึงมีแนวโน้มว่าจะมีความต่อเนื่องก็ตาม แต่การแข่งขันต้องอยู่ในระบบตรงไปตรงมา

            อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังติดปัยหาเรื่องการใช้ภาษา ยิ่งการอาเซี่ยนกำลังเดินไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน ในปี2558 การไหลแข่งขันเรื่องแรงงาน ที่มีทักษะ โดยเฉพาะวิชาชีพแพทย์ จะทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบเนื่องจาก ต่างประเทศมาทำงานในประเทศไทยได้ แต่คนไทยไม่สามารถออกไปทำงานต่างประเทศได้

           ดังนั้นมหาวิทยาลัยของไทยจะต้องผลิตบุคลากรให้มีคุณภาพ ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือ SME ต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเรื่องนี้อินโดนีเซีย เองเขาก็กังวลเพราะเกรงว่าผู้ประกอบการของเขาอาจอ่อนแอกับการแข่งขันเช่นกัน

          “ประเทศไทยยังมีโอกาสโดยเฉพาะรัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมฮาลาล ที่ไทยมีจุดแข็ง เพียงแต่รัฐบาลต้องเปิดใจกว้างและใช้อุตสาหกรรมฮาลาล เป็นเครื่องมือในการพัฒนาและต่อยอดเพื่อสู่กับการแข่งขั้น” เลขาธิการอาเซี่ยน ย้ำ