Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   ยางพารานอกระบบกว่า8ล้านไร่ทำเงินเซสหายร่วมหมื่นล้าน

ยางพารานอกระบบกว่า8ล้านไร่ทำเงินเซสหายร่วมหมื่นล.

             สำนักข่าวอะลามี่:  หัวหน้าพรรคยางพาราไทย (ยพท.)ระบุ “สวนยางพารา” นอกระบบ มีอยู่ประมาณ 8 ล้านไร่ เกือบ 1 ล้านตัน สูญหายไม่สามารถจัดเก็บเงินเซส 10,000 ล้านบาท แนะรัฐบาลควรตั้ง “ตาชั่ง” ของรัฐเอง สกัดเงินเซสสูญหาย

             นายเพิก เลิศวังศ์พง หัวหน้าพรรคยางพาราไทย (ยพท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ชาวสวนยางพาราจำนวนหนึ่ง มีเนื้อที่ประมาณ 3 ล้านไร่ อยู่ในพืนที่ป่าสงวน ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท ประเภทที่ 1 ประเภทป่าสงวนแห่งชาติอยู่ในสวนยางพารา และ ประเภทที่ 2 ยางพาราในป่าสงวน ซึ่งปริมาณอยู่ระหว่างก่ำกึ่งกัน ส่วนป่าสงวนในสวนยางพารา คือชาวสวนยางพาราปลูกเป็นที่ทำกินมาก่อน และ ทางการมาประกาศเป็นเขตป่าสงวนภายหลัง ส่วนประเภทที่ 2 ปลูกสวนยางพารา ในเขตป่าสงวน มีทั้งของกลุ่มทุนและของเกษตรกรชาวสวนยางพารา

             “ปัญหาอยู่คือขณะนี้ชาวสวนยางพาราในพื้นที่ดังกล่าว ต้องการโค่นปลูกใหม่ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ไม่สามารถขอทุนสงเคราะห์โค่นได้ และถือว่าผิดกฎหมายจะถูกจับกุมทันที เขาจึงไม่สามารถปลูกใช้ประโยชน์ทำมากินไม่ได้ และในแต่ละปีต้องเสียเงินเซส ให้กับรัฐเป็นเงินมูลค่ามหาศาลต่อปี"

              นายเพิก กล่าวอีกว่า สวนยางพาราที่อยู่ในเขตป่าสงวน ทางการไม่สามารถดำเนินการช่วยเหลืออะไรได้ ขอทุนสงเคราะห์ก็ไม่ได้ ดังนั้นหากพรรค ยพท. มีโอกาสได้บริหาร จะหารือหามาตรการถึงเรื่องนี้ เพื่อที่จะช่วยเหลือชาวสวนยางพาราส่วนนี้ให้ได้

            “ความจริงขณะนี้สวนยางพาราที่อยู่ในระบบ จำนวน 17.8 ล้านไร่ โดยที่กรีดได้จำนวน 12 ล้านไร่ และ อยู่นอกระบบ อีกจำนวน 3 ล้านไร่ ตามหน่วยงานของรัฐออกมาระบุ และ ยังมีอีกจำนวนหนึ่งที่ปลูกโดยไม่ได้รับแจ้งประมาณ 5 ล้านไร่ ซึ่งภาพรวมแล้วขณะนี้ประเทศไทย มีสวนยางประมาณ 25 ล้านไร่ จะมีผลผลิตประมาณ 4.2 ล้านตัน / ปี”

               นายเพิก กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามมีตัวเลขเป้นทางการมีผลผลิตเพียง 3.4 ล้านตัน และตัวเลขส่งออกมีเพียง 88 – 89 เปอร์เซ็นต์ และใช้ภายในประเทศเพียง 11 – 12 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น แสดงให้เห็นว่า ยางพาราที่ตัวเลขไม่ปรากฏการส่งออกและใช้ภายในประเทศ เกือบ 1 ล้านตัน มูลค่าเงินเซสที่หายไปมูลค่าจำนวนมหาศาล ซึ่งขณะนี้เงินเซสเก็บได้อยู่ประมาณ 15,000 ล้านบาท

               “ตอนนี้ยางพาราให้น้ำยางประมาณ 253 กก./ ไร่ / ปี จากเดิมที่ให้น้ำยางสดประมาณ 186 กก./ ไร่ / ปี ปัจจัยมาจากสาเหตุภัยธรรมชาติ ไม่สามารถกรีดได้ตามกำหนดเวลา และมีการปลูกยางพาราในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น”

              นายเพิก ยังกล่าวอีกว่า สำหรับพื้นที่ส่งออกยางพารารายใหญ่อยู่ที่จังหวัดสงขลา ด่านสะเดา ด่านปาดังเบซาร์ ด่านประกอบ และ ท่าเรือนน้ำลึกจังหวัดสงขลา เพื่อป้องกันตัวเลขที่ชัดเจนในการส่งออกเพื่อจัดเก็บเงินเซส ที่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ทางรัฐบาล จะต้องมีตาชั่งน้ำหนักยางพารา เพื่อส่งออกเป็นของตนเอง หากได้ระบบมาตรฐานเชื่อว่า เงินเซส สามารถจัดเก็บได้ประมาณ 20,000 ล้านบาท / ปี