Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   “โรงเตี๊ยมมุสลิม”ธุรกิจ"ติ๋มซำ"อาหารทางเลือกสำหรัมุสลิม

“โรงเตี๊ยมมุสลิม”ธุรกิจ"ติ๋มซำ"อาหารทางเลือกสำหรัมุสลิม

             สำนักข่าวอะลามี่ ธุรกิจอาหารแค่พลิกแพลงและตั้งใจทำก็สามารถทำรายได้งามและเป็นกอบเป็นกำ เช่นเดียวกับ"สหพรรษ มูลัน”ที่ผันตัวเองจากชิ้บปิงมาเปิดธุรกิจติ๋มซำ จนกลายเป็น"โรงเตี้ยมมุสลิม" ธุรกิจติ๋มซำอาหารทางเลือกของชาวมุสลิม

              เพราะไอเดียแปลกๆ จึงโดนใจลูกค้า มีคนเข้าคิวรอซื้อกันจนทำกันแทบไม่ทัน ในงานตลาดนัดสุขภาพจังหวัดสงขลา  ป้ายข้างหลังบอกชื่อร้าน “โรงเตี้ยมมุสลิม” ขายติ๋มซำ ซีฟู๊ด สูตร หรือ ต้นตำรับจากเบตง  ขนมจีบ ซาลาเปา บะจ่าง และ หม่านโถว ร้านตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จ.ยะลา

            เห็นแล้วก็ไม่อยากจะพลาดพูดคุยเพราะ ซาลาเปายักษ์ ใบละ 35 บาท มันใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเจอมา  แถมติ๋มซำ ที่โชว์อยู่ในร้านนั้นสีสวยงาม  ลูกชิ้นก็กลิ่นหอมจนน้ำลายหกเมื่อน้ำย่อยมื้อเที่ยงออกมาทำหน้าที่!!!

            ซาลาเปายักษ์อันใหญ่มากๆ พนักงานขายในร้านบอกว่าเป็นซาลาเปาไก่น้ำแดง  ขายลูกละ 35 บาท 3 ลูก 100 บาท ไม่ลองไม่รู้ ไม่ซิมบอกไม่ได้ ได้น้ำจิ้มมาไม่รอช้าเจาะลงไป ตักพอคำ อืม!!!ต้องบอกว่าอร่อยไม่เคยทานมาก่อน มันเมือนรสชาดฟิซซ่าข้างใน แต่มันลงตัวกับแป้งซาลาเปามากๆ ติ๋มซำ ตั้งอยู่ใกล้ๆ ลงทุนซื้อมา 7 ชิ้น 100 บาท เพระเขาขายอันละ 15 บาท อืม!!! กลมกล่อมใช้ได้รสชาดถูกปากทั้งชาวไทย ชาวจีน และมุสลิม เพราะไม่ได้เหม็นเครื่องเทศจนฉุนและไม่ได้จืดจนต้องใช้น้ำจิ้มเป็นถ้วย

           เจ้าของร้านชื่อ “นายสหพรรษ มูลัน” ออกมาลงสินค้าล็อตใหม่พอดีถือโอกาสแนะนำตัว เราขออนุญาตเรียกพี่เขาว่า “บัง” ตามสรรพนามที่พี่น้องมุสลิมใช้เรียกชื่อพี่ชาย

            บัง สหพรรษ บอกว่า ตนเองเป็นมุสลิมที่กรุงเทพ ในช่วงแรกก็ทำนำเข้าส่งออกซิปปิ้ง ที่แถวคลองเตย แต่ปี 25540 ฟองสบู่ธุรกิจบริษัทเจ๊ง บ้าน 3 หลัง รถยนต์ 3 คนถือแบงค์ยึดหมดแถมมีหนี้ติดตัวมาเหยียบล้าน และตัวเองนั้นเป็นคนที่ชื่นชอบทานติ๋มซำ แต่ในร้านติ๋มซำโดยทั่วไปใช้เนื้อหมู  ซึ่งมุสลิมทานไม่ได้ ก็มาทดลองทำเอง แต่ไม่ได้คิดว่าจะมาเป็นร้านในช่วงแรกๆ

            ด้วยวิกฤติที่เกิดขึ้นบังบอกว่าเครียดมาก ตอนนั้น หลังจากเกิดเหตุการณ์ทำใจอยู่1 ปีกว่าๆ แต่โชคดีว่า เรามีภรรยาควรให้กำลังใจตลอด โดยภรรยาทอดไก่ขายในตลาดนัดต่างๆ ผมก็หาทางออกโดยซื้อเสื้อผ้ามาขายตามตลาดนัด และก็เป็นลูกมือให้ภรรยาไปด้วย ทำอยู่ 2-3 ปี ก็ไม่ดี หวัดนกเข้ามาซ้ำเติม จนขายไม่ได้

            " หลังจากนั้นภรรยาก็หั่นมานึงซาลาเปาขาย ได้กำไรวันหนึ่ง 400-500 บาท เราก็ดูแล้วว่าไปไม่รอด  และเราเป็นหัวหน้าครอบครัว ก็เลยคิดว่าต้องทำอย่างจริงๆ จังจึงจะอยู่ได้ จึงทดลองคิดสูตรผสมไก่ ในช่วงแรกก็ทดลองทำแล้วให้เพื่อนๆที่ชอบทานติ๋มซำ ทดลองชิม ทั้งนี้เราจะทำให้เหมือนติ๋มซำ ที่ขายกันทั่วไปมุสลิมทานม่ได้ เพราะมีผสมหมู อีกทั้งพบว่าเครื่องเทศกลิ่นแรง และอยากได้ลูกค้าคนไทย ที่อาจจะไม่ชอบเครื่องเทศที่แรงมาก ผสมผสานจนเพื่อนบอกอร่อย ก็ตัดสินใจทดลองตลาด"สหพรรษ กล่าวและว่า

          จากนั้นก็ลงทุนซื้อตู้พรีทน้ำแข็งมา เพราะติ๋มซำ ต้องเก็บในห้องเย็น และโชคดีว่าเราได้ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่เบตงแนะนำให้ไปขายที่เบตง ก็ตัดสินใจลงมาจังหวัดยะลา

           ปี 2550 ตัดสินใจซื้อบ้านในอำเภอเมืองยะลา แต่ก็ยังใช้สูตรติ๋มซำเบตง ปรากฎว่า ในช่วงแรกขายดีมาก เพราะเป็นอะไรที่ใหม่ แต่โชคร้ายหน่อยว่าทำเลร้านที่เลือกกลายเป็นว่ามีความขัดแย้งไม่ชอบพอระหว่างไทยพุทธ และมุสลิม ก็ทำให้อึดอัด จนกระทั่งเริ่มมีปัญหา อย่างคนจีน คนพุทธ เขาอยากทานติ๋มซำหมู เราก็ไม่มี  ลูกค้าน้อยลงเพราะเราจะให้คนทานติ๋มชำกับกาแฟ ทุกเช้าก็คงจะเป็นไปไม่ได้

            " ลูกค้าน้อยลงจากสถานการณ์ จากนั้นจึงมีความคิดว่าต้องออกไปขายข้างนอก ก็เริ่มทะยอยออกงานไปจัดบู๊ท ตามงานที่ทางราชการจัด และเอกชนเชิญชวน ปรากฎ ว่าขายดี กระแสตอบรับดีมาก แต่ก็ยังเป็นธุรกิจในครอบครัว โดยมีภรรยา และ น้องชาย 2 คน ช่วยและมีคุณน้าเข้ามาด้วย ที่นี้ก็คิดว่าจะให้คน 6 คน มาขายสินค้าอันเดียวกันมันก็ไม่พอกิน ก็เลยแตกไลน์ไปขายปุ้ยฝ้าย โดยภรรยาเป็นคนทำ เขาไปเรียนกับลูกศิษย์ อาจารย์ยิ่งศักดิ์ ทำเสร็จน้าสาวเป็นคนจำหน่าย ปุ้ยฝ้ายที่ร้านก็จะแตกต่างจากที่อื่นเนื่องจากได้ผสมผสานผลไม้เข้าไป"

                 บังบอกว่า ติ่มซำและเกี้ยว ต้องใช้วัตถุดิบที่คุณภาพอย่างแผ่นเกี้ยวทางร้านสั่งโดยตรงจากชลบุรีเนื่องจากมีความนิ่ม และอ่อนมากกว่าทางภาคใต้ซึ่งแข็ง โดยเริ่มแรกเลยก็ไปคุยกับทางโรงงานว่าเรามีสูตรคุณช่วยผลิตให้เราได้หรือไม่ โดยที่ร้านนั้นจะเน้นสมุนไพรเกี้ยวสีเขียว จะใช้ใบเตย และสีเหลือง จะใช้ขมิ้น ดังนั้นเวลานึ่งสีจะจางลง

                 หลังจากเปิดตัวมาสักพักและออกงานต่างๆ ปรากฎว่า มีคนสนใจติดต่อขอสูตรและของซื้อเฟรนไซส์จำนวนมาก รวมทั้งมีนักธุรกิจมาเลเซีย ติดต่อเข้าให้เราส่งแป้งให้ ซึ่งก็ต้องปฎิเสธไป เพราะแป้งที่เราสั่งให้สามารถไว้ได้แค่ 3 วัน และ เราไม่ได้สารกันปูด ดังนั้นเมื่อขายไม่หมด เราจะทิ้งไปเพื่อรักษาคุณภาพ แต่คนที่นำไปจำหน่ายเราไม่รู้ว่าเขาจะใช้สารกันปูดหรือไม่ ตรงนั้นทำให้คุณภาพเปลี่ยนไป และอาจจะเสียชื่อมาถึงเรา

            ส่วนคนที่จะซื้อเฟรนไซส์ เมื่อคุยลงไปในรายละเอียดส่วนใหญ่จะติดในเรื่องทุน เนื่องจากติ๋มซำ ต้องใช้เงินลงทุนสูง ทั้ง ตู้แช่ ตู้นึ่งและต้องมีพนักงาน ซึ่งมันยาก และที่สำคัญคือ เขาต้องตั้งใจเพราะเป็นงานที่ค่อนข้างเหนื่อยและต้องมีไอเดียมีการบริหารจัดการ

           "เมื่อก่อนขายนีร้านลูกค้าประจำส่วนหนึ่ง แต่เมื่อมาขายตามงานต่างๆ กระแสตอบรับดีกว่า บ้างงานยอดขายสูงมาก ต้องลงทุนวัตถุดิบแต่ละครั้งหลายหมื่นบาท  โดยเฉพาะไก่ในภาคใต้นั้นมีราคาแพงกว่ากทม. ซึ่งกิโลกรัมละ 70 บาท แต่ภาคใต้ขายกิโลกรัมละ 100  บาท และเราจดทะเบียนในนามโอท็อป ของจังหวัดยะลา" บังสหพรรษ บอกว่า

         เมื่อสอบถามลึกลงไปว่าต้นทุนประมาณ 10,000 บาท ติ๋มซำบังได้กำไรเท่าไหร่ บังสหพรรษยิ้มและบอกว่า 40,000-50,000 บาท เพราะการทำติ๋มซำนั้น หนักเฉพาะช่วงแรกในเรื่องของอุปกรณ์

         ส่วนในนาคตอาจขยายในรูปของเฟรนไซส์ ซึ่งกำลังคิดในเรื่องของราคาอยู่ สำหรับท่านใด ที่สนใจสามารถติดต่อพูดคุยในเรื่องราคาได้ที่หมายเลข 081-8691346 ครับ

 

โดย: กิตติญาณีย์ สมหมาย สำนักข่าวอะลามี่ รายงาน