Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   สกรณ์อิสลาม ขุมทรัพย์สุดปลายฝัน

สหกรณ์อิสลามฯ ขุมทรัพย์สุดปลายฝัน

สู่ 2 ทศวรรษ ฝันตั้ง " ธนาคารประชาชน "

โดย  เอกราช มูเก็ม
       
บรรณาธิการบริหาร
        นิตยสาร ดิ อะลามี่

+++++++++++++++++++

            สำนักข่าวอะลามี่: ภาพของสหกรณ์ คือ การรวมตัวของชาวบ้าน เพื่อหาทางรอดให้กับชุมชน แต่ปัจจุบันสหกรณ์ได้ขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะ สหกรณ์อิสลาม มีวิธีการบริหารแตกต่างจากสหกรณ์ทั่วไป

            นิตยสาร ดิ อะลามี่ ฉบับนี้ เรานำท่านมารู้จักกับ สหกรณ์อิสลาม จากผู้มีประสบการณ์หลากหลาย ถึงพัฒนาการร่วม 2 ทศวรรษ การก้าวเดินของสหกรณ์อิสลาม ผ่านมุมมอง " ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู " ประธานกรรมการเครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย

            เริ่มสนทนา โดยให้ฉายภาพของความเป็นสหกรณ์อิสลาม ผศ.ดร.วรวิทย์  อธิบายถึงการเกิดขึ้นของสหกรณ์อิสลาม ว่า มาจากบนพื้นฐานของคำสั่งใช้ของอัลเลาะห์ (ซ.บ.) ใน อัล กุรอาน อายะห์ที่ 275-281 ว่าด้วยเรื่องการเงินการคลังในอิสลาม ห้ามเรื่องของดอกเบี้ย แต่ให้ทำการค้าขาย บนพื้นฐานนี้ เรามาดูว่า สถาบันการเงินที่พี่น้องจะเข้าไปใช้ทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาไม่มี ระบบสหกรณ์ บวกกับคำสั่งใช้ คือ พื้นฐานหลักที่เราจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นมา เป็นระบบแห่งการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  

            " ระบบสหกรณ์ เป็นการรวมเงินของคนทั่วไปนำมาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ที่ผ่านมาเรารู้ว่าเรายังขาดอะไรอีกหลายอย่าง แต่เราก็สามารถจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นมา และสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ไปได้ "

            สหกรณ์อิสลามเริ่มต้นจากเงินทุนเพียง 25,000 บาท ปัจจุบันมีเงินทุนเพิ่มขึ้นเกือบหมื่นล้านบาท และพัฒนาการของสหกรณ์ขึ้นไปเรื่อยๆ รวมถึงภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพราะสหกรณ์อิสลาม ต้องได้รับการตรวจบัญชี จากกรมตรวจบัญชีทุกปี แต่เนื่องจากสหกรณ์อิสลาม มีระบบบัญชีแตกต่างจากสหกรณ์ทั่วไป จึงไม่สามารถเอาระบบของสหกรณ์ทั่วไปมาใช้ได้ ดังนั้นในระยะ 6-7 ปี ที่ผ่านมา เราพยายามสร้างระบบและจัดจ้างบริษัทเอกชน สร้างระบบขึ้นมา ปัจจุบันเริ่มจะเสถียร และสามารถนำโปรแกรมบริหารงานสหกรณ์อิสลามฯ มาใช้ได้แล้ว 90 % 

            ผศ.ดร.วรวิทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันสมาชิกสหกรณ์อิสลามทั่วประเทศมีประมาณ  2 แสนราย จากสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกเครือข่ายฯ กว่า 28 สหกรณ์ นอกจากนี้ยังมีกองทุนที่ยังไม่จดทะเบียน แต่ใช้ระบบและโปรแกรมเดียวกัน รวมแล้ว 30 กว่าแห่ง อีกทั้งยังมีสหกรณ์ในกรุงเทพและในภูมิภาคอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งเป็นสมาชิกของเรา ทำให้เราต้องเปลี่ยนจาก เครือข่ายสหกรณ์อิสลามภาคใต้ เป็น เครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย

          " ซึ่งปัจจุบันเรามีสินทรัพย์ของสหกรณ์ มวลรวมประมาณหมื่นล้านบาท นี่คือตัวเลขในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2556 และ คาดว่าในปี2557 จะทะลุกว่าหมื่นล้านบาทอย่างแน่นอน"

            ประธานเครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย บอกถึง วิธีการบริหารและสร้างมูลค่าเพิ่มของสหกรณ์ ว่า เนื่องจากเราไม่มีระบบดอกเบี้ย วิธีการบริหารการเงิน คือ เราเอาเงินไปลงทุนซื้อสินค้า แล้วขายผ่อน เรียกว่า  มูรอบาหะฮ์ คือ ให้สมาชิกผ่อนซื้อสินค้า ขอสินเชื่อจากสหกรณ์  เรานำเงินไปจ่ายให้เขา แล้วเขาก็ผ่อนส่ง หรืออีกธุรกรรมหนึ่ง เรียกว่า มูฎอรอบะฮ์ คือ การนำเงินมาร่วมลงทุน แล้วแบ่งปันผลกำไรกับสมาชิก จะคืนกำไรให้กับสมาชิกทุกๆ 3 เดือน  

            นอกจากนี้ การลงทุนแบบ มูชารอกะฮ์ คือ ธุรกรรมที่ทำกับสมาชิกของเรา หรือ คนนอกก็ได้ ที่สำคัญคือวันนี้ เครือข่ายสหกรณ์ของเรากำลังทาบทามและร่วมมือ ในการที่จะพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตชายทะเลร่วมกัน

            " เราร่วมมือกับบริษัทจากสิงคโปร์ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษารายละเอียด นอกจากนั้น สถาบันการเงินประเภทเดียวกัน ประเภทที่ไม่ใช้ดอกเบี้ย ทั้งในและต่างประเทศ ก็เชิญชวนให้เราร่วมทำธุรกรรม อาทิเช่น โครงการบิสสิเนสโซนในปัตตานีจาย่า ซึ่ง ณ วันนี้ เรามีความมั่นคงพอที่ให้เขาสนใจมาร่วมลงทุนกับเรา โดยมีกลุ่มประเทศต่างๆ เข้ามาสนใจ อาทิเช่น บาเรนห์ และ มาเลเซีย  "

            ผศ.ดร.วรวิทย์ กล่าวถึงปัจจัยที่สร้างความเข้มแข็งและสามารถให้สหกรณ์ขยายกิจการได้ทุกวันนี้ ว่า เพราะสมาชิกมีความเชื่อมั่นในสหกรณ์ มีความเชื่อว่า ผู้ที่ทำงานของสหกรณ์มีความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมาก

            " ที่ผ่านมา เราจัดอบรม(ตันบียะฮ์) พูดถึงเรื่องของศาสนา กระตุ้นเตือนเรื่องกรอบที่พระเจ้าสั่งใช้โดยเฉพาะเรื่องความความรับผิดชอบ (อามานะฮ์) คือ สิ่งสำคัญ "

            อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการขยายตัว สหกรณ์เองยังมีอุปสรรคการบริหารอยู่บ้างโดยเฉพาะ ยังขาดนักวิเคราะห์มืออาชีพ ในการลงทุนขนาดใหญ่ ทั้งนี้การลงทุนอะไรก็แล้วแต่ จะต้องคำนึงถึงสมาชิกเป็นหลักเพราะเงินเป็นของสมาชิก

            นอกจากนี้ สหกรณ์ยังมีความต้องการความเป็นมืออาชีพของนักบัญชี และการจัดโครงสร้างของระบบการทำงาน เพราะโครงสร้างของระบบมีผลต่อความสำเร็จ

            " เป้าหมายและจุดประสงค์ของเราคือ เราเป็นสถาบันทางการเงินอิสลาม เป็นสถาบันการเงิน ที่มีสมาชิกมีส่วนร่วมสูงมาก เราจึงมองไกลไปว่า เราจะเดินหน้ามุ่งสู่ การจัดตั้งธนาคารของประชาชน ภายใต้ พรบ.ของประเทศไทย เราจะพยายามสร้างไปสู่จุดนั้น เหมือนกับ “มุอามาลัด” ในอินโดนีเซีย และธนาคารคนจนในประเทศบังคลาเทศ "

            อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งธนาคารของประชาชน จะต้องดูสินทรัพย์ของสหกรณ์ ซึ่งคาดว่าต้องมีกว่าพันล้านบาท ถึงสามารถจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งคาดหวังว่า อีก 3-4 ปีข้างหน้า จะให้แต่ละสหกรณ์ เตรียม 30-40 ล้านบาทรวมกันและจัดตั้ง คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา

            วันนี้ เรากำลังเดิน และก้าวเดินเข้าไปข้างหน้าอย่างภาคภูมิใจว่า เป็นการเติบโตที่ตรงกับเป้าหมายของอิสลาม ซึ่งในอนาคต การเข้ามาของ AEC เราอาจจะเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารเดียวกัน โดยเฉพาะประชากรใน AEC 600 กว่าล้านคน ซึ่งประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแห่งอาเซียน  สหกรณ์อิสลามฯคงไม่หยุดแค่นี้ และมีโอกาสขยายต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง...

/////////

Islamic Cooperatives 

Towards Two Decades

A Dream Of “People’s Bank”  

By : Ekkarat Mukem
       Editor The Alami Magazine

-----------------------------

            This cooperative is the integration of the villagers to help people, and currently, the cooperative has expanded even more especially the Islamic cooperatives. It has different management when compare to other cooperatives.

            The Alami’s magazine for this edition is going to introduce you knowing about the Islamic Cooperatives from people who fully has many experiences since two decades about the development of Islamic Cooperatives. In this case, Prof. Voravit Baru, a Chairman Islamic Cooperative network started a conversation by showing the background of Islamic Cooperatives.

            He described the emergence of Islamic Cooperatives by stating that it is based from the command of Allah (S.b.). In Al- Quran, the Ayah 275 to 281 has mentioned about the Islamic Financial, and it is forbidden for the interest. However, it allows making a trade. On this basis, let see that the financial institution you will access to use the transactions which never has cooperatives before and it never has a command. So, the main point we established this cooperative is to help each other.

            "Cooperative system is a combination of general funds to help each other. In the past, we knew that we had many shortages. But we can still establish the cooperative and can deal with the obstacles. "

            The Islamic Cooperatives started from 25,000 Bath of investment. Currently, it has increased almost a billion baht and well developed including from the government part as well as those involved because the Islamic Cooperatives force to check the account every year from the department of accounting. Because of its difference, it cannot be used a system like other cooperatives in general. So, in the past 6-7 years, we tried to create a system and hired a private company to make a system, and currently, it works and can use the program almost 90%.

            Dr. Voravit  also said that we have members for about two hundred thousand which spread around the country, and it is about 28 Cooperatives that is already registered. Moreover, it still has non registered cooperatives in Bankok and in other regions. However, part of them is our members, and we have to change a network from Southern Islamic Cooperatives to be a network of Islamic Cooperative of Thailand.  

            "Currently, we have the assets of the cooperative about ten thousand million baths. This is the number of the last quarter in year 2013, and it is expected that in year 2014, the number will be increasing certainly "

            The President of Islamic network cooperative stated the way how to manage and create the values of cooperatives and said that because we do not have interest, and a way to deal with it is taking money to invest (MuQoraba). Having said this, it gives members to purchase a product and asked a credit from cooperatives. We take money to pay them, and they will pay little by little. We call this system as Muqorabah. To elaborate it, we invest together, and we share profits with the members, and we will receive a profit every three months.

            In addition, the "Musha rakat" investment is transactions we make with our members or we can do with other people. The most importance is that our cooperatives are approached and integrated to develop the Southern Borders Provinces by enhancing the level of living population in the seaside area.

          "We are going to participate with Singapore companies, and currently, we study its detail. Moreover, we have similar financial institution which is type of non interest. So, both domestic and international countries invited us to share the transactions, such as Business Project in Pattani Jaya which is stable enough to motivate people to invest with us nowadays. In this case, a country like Malaysia and Bahrain are interested in this project”.

            Dr. Voravit discussed the factors that can strengthen and can expand the cooperatives today and said that because all members feel confident with our cooperatives, and they believe that our staffs are honest. This is very important factor by the way.

            "In the past, we provided (Tarbiyah) training and talked about the religion part to warn people about the religious orders, especially responsibility (Amanah) is the most important one”.

            However, with the expansion, cooperatives also have some administrative barriers. Particularly, we lack of analysts. So, whatever the investment is, we must realize on members because money belongs to them.

            The cooperative also needs a professional accountant, and we need people to arrange the structure of the system because it will affect the success.

            "Our goal and purpose is that we are as the Islamic financial institution, and we have members that integrated in a high number. So, we think that we will walk further, and we will establish a bank for our population under Act of Thailand. We are trying to achieve our goal as "Muamalad" in Indonesia and banks for the poor people in Bangladesh ".

            However, for the establishment of population’s bank, we will look at cooperative assets which are expected to have over a billion baht. So, we are able to register legally. It is expected that the next 3-4 years, we will give each cooperative to arrange money about 30-40 million baths. We think that it is not going to be a problem.

            Today we are moving forward, and we are proud because our cooperative is growing up, and it is based on Islamic institution. In the future, the AEC is coming, and we may link information together, especially the AEC’s population is about 600 million people. Thailand is the center of AEC. So, the Islamic Cooperatives will not stop here. It can be spread in the future.

 

หมายเหตุ : ตีพิมพ์ครั้งแรก นิตยสาร ดิ อะลามี่ ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2556