Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   จักร์กฤษ เพิ่มพูล บนภาระกิจประธานสภาหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

จาก " อิศรา อมันตกุล" 

สู่ "จักร์กฤษ  เพิ่มพูล "

บนวิชาชีพสื่อเมืองไทย    

+++++++++++++

โดย เอกราช มูเก็ม
      บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร ดิ อะลามี่

              ในยุคการตื่นตัวทางสังคม บทบาทของสื่อจึงมีอิทธิพลต่อสังคมตามไปด้วย วิชาชีพสื่อ เป็นอีกหนึ่งแขนงที่มีบทบาทในสังคม ไม่ว่าในสังคมไทยหรือสังคมโลก

             นิตยสาร ดิ อะลามี่ ฉบับนี้ เราขอแนะนำ " จักร์กฤษ เพิ่มพูน " ในฐานะประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ซึ่งถือเป็นตำแหน่งอันทรงเกียรติในแวดวงสื่อของประเทศไทย



            " จักร์กฤษ เพิ่มพูน" ในฐานะ ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  มองถึงการเปลี่ยนแปลงของสื่อในยุคปัจจุบันว่ามีความเปลี่ยนแปลง ค่อนข้างมาก ถ้าจะอธิบายในเชิงวิชาการ ก็ต้องบอกว่าในภูมิทัศน์ของสื่อมันเปลี่ยนไป ชนิดที่เราไม่ได้คาดคิดว่ามันจะเปลี่ยนได้มากขนาดนี้ ซึ่งเดิมเป็นแค่สื่อสิ่งพิมพ์ ต่อมาได้พัฒนามาเป็นสื่อออนไลน์

            " ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอันนี้เอง บทบาทและหน้าที่ของสื่อ อาจจะมีคำถามมากมายในแง่ของการทำหน้าที่ตรงไป ตรงไป โดยเฉพาะเมื่อเราพูดถึงสื่อใหญ่ที่มีกิจการในเครือจำนวนมากจะมีธุรกิจเข้ามาแฝง ซึ่งก่อนหน้านี้ เคยต่อสู้กันระหว่างกองบรรณาธิการกับฝ่ายทุน และดูเหมือนว่า ฝ่ายกองบรรณาธิการ ยังยืนหยัดในหลักการของตัวเอง…ได้ ในการนำเสนอข่าวตรงไปตรงมา โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อานัดของนายจ้าง หรือหัวหน้างาน หรือนายทุน "

            แต่ปัจจุบันนี้ผมคิดว่า เรื่องเหล่านั้นมันอาจจะเปลี่ยนไปแล้ว นั่นหมายถึง วันนี้อำนาจของทุน อำนาจของทุน จะให้ทั้งคุณและโทษได้ ซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทในการกำหนดทิศทางของสื่อ โดยจะเห็นว่า ในกรณีที่มีการชุมชุม(กปกส) หรือ อะไรก็แล้วแต่ ภาพและข่าว ที่ปรากฏในสื่อบางสื่อ มีลักษณะที่มีความโน้มเอียงโดยชัดเจน

            เราก็พบว่าหนังสือพิมพ์บางฉบับ มีลักษณะการนำเสนอข่าวที่ดูเหมือนว่าเป็นความจริงเพียงด้านเดียว หรือ ข่าวชินเดียวกันแต่ตีความไปคนละแบบกัน และก็ค้นพบว่า สื่อที่กล่าวอ้าง ได้รับงบประมาณในการจัดโฆษณาอีเว้นท์มาร์เก็ตติ้ง จำนวนนับร้อยกว่าล้านบาท อันนี้ก็เป็นข้อสังเกตอันหนึ่ง  ซึ่งทำให้น่าคิดว่า เมื่อคุณได้รับเงินทุนสนับสนุนขนาดนั้น คุณยังทำหน้าที่ได้ตรงไปตรงมาหรือไม่ นั่นคือประเด็นที่ผมมอง

            จักร์กฤษ ยอมรับว่า สภาพของสื่อเปลี่ยนไป สื่อเป็นลักษณะของอุตสาหกรรมมากขึ้น บริหารจัดการที่เป็นแนวธุรกิจมากขึ้น จึงทำให้เกิดความโน้มเอียง ที่จะใช้ปัจจัยทุน เป็นตัวกำหนดทิศทางมากขึ้น ในขณะที่กองบรรณาธิการ มีจุดยืนในอุดมการณ์ที่มองไปในการสื่อสารเพื่อเป็นประโยชน์แก่สังคมและสาธารณะ กลับถูกลดทอนบทบาทลง

            " ผมเห็นใจ นักข่าวฝ่ายปฏิบัติการ หรือ นักข่าวภาคสนาม อยากให้ประชาชนแยกให้ออกระหว่างผู้ประกอบการสื่อ  ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ เขาจะไม่บิดเบือนข่าว จะเสนอข่าวตามความเป็นจริง  แต่ข่าวมันถูกส่งเข้าไปยังกองบรรณาธิการ มีการกลั่นกลองตามนโยบายของกองบรรณาธิการ  ซึ่งถ้านายทุนเป็นตัวกำหนด มันถูกทำให้เข้าใจผิดว่า นักข่าว ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์อย่างตรงไปตรงมา "

            จักร์กฤษ ในฐานะคนทำสื่อมาเกือบครึ่งชีวิตมองบทบาทสื่อมุสลิมในสังคมไทย ว่า บทบาทของสื่อมวลชนมุสลิม ได้ทำหน้าที่ไม่น้อยไปกว่าสื่อมวลชนกระแสหลัก แต่ที่ผ่านมา จะมีลักษณะที่เป็นเฉพาะกลุ่มมากกว่า

            " ประเด็นสำคัญ คือ พวกเรามักจะคิดว่าจะขายกันเอง จะสื่อสารเฉพาะที่พวกเราเข้าใจ แต่เราลืมมองไปข้างนอกว่า ข้างนอกมีคนที่สนใจในเรื่องของสังคมมุสลิมอีกจำนวนมาก เราก็ปล่อยให้คนที่ไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่องเป็นคนอธิบายแทนเรา มีคนบางคน ตั้งตัวเป็นผู้รู้เรื่องมุสลิม อธิบายได้เป็นฉากๆ ผิดบ้างถูกบ้าง "

             เพราะฉะนั้นการเสนอข่าวของสังคมมุสลิม เราไม่ได้ทำหน้าที่สื่อสารความจริงที่ได้เกิดขึ้น เราปล่อยปละละเลยให้คนบางคนไม่ได้รู้เรื่องศาสนาจริง ไปทำหน้าที่นั้น บทบาทของสื่อมวลชนมุสลิม ต้องเสนอมุมมองของมุสลิมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในสังคมคมไทย ในทุกมิติและรอบด้าน จะทำให้เรายกระดับตัวเอง เข้าไปอยู่ในเวทีสื่อกระแสหลักมากขึ้น

             ทั้งนี้ ทุกคนได้ยิน มูลนิธิอิศรา สำนักข่าวอิศรา อมันตกุล ซึ่งเป็นมีรางวัลโปรดิวเซอร์  และเป็นรางวัลอันทรงเกียรติของวิชาชีพสื่อเมืองไทย  คุณอิศรา เป็นนักหนังสือพิมพ์ เชื้อสายมุสลิม ที่มีบทบาทโดดเด่นมาก ในการทำงาน โดยที่ซื่อสัตย์ มั่นคงอยู่ในวิชาชีพ และ บทบาทก็ยังต่อเนื่องมายังคนยุคปัจจุบัน  เพราะ เมื่อพูดถึงสื่อมวลชน หรือ นักหนังสือพิมพ์ ย่อมจะมีชื่อ อิศรา อัมมันตกุล นับเป็นคนแรกของสังคมไทย ที่มีบทบาทเด่น และเป็นที่ยอมรับมาก

             คุณอิศรา คือ มุสลิมคนแรก ที่เป็นต้นแบบของมุสลิมไทย ทั้งในเชิงของหลักในการทำงาน ทั้งในเชิงของเรื่องจริยธรรม เริ่มหลักการที่เที่ยงตรงและซื่อสัตย์ เรื่องความซื่อสัตย์นี่เอง ที่ผมยึดมั่น เราถูกสอนให้เป็นคนที่ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า ความซื่อสัตย์อันหนึ่ง ที่ซ่อนไว้อันหนึ่งอย่างแยบคาย ก็คือว่า เวลาที่เราถือศีลอด มีคนบอกว่า ไปแอบกินก็ได้ ไม่มีใครรู้หรอก อยู่ต่อหน้าพวกเราก็ทำอดๆไป แต่พวกเราไม่แอบกิน ทำไมเราถึงไม่แอบกิน เพราะเราซื่อสัตย์ต่อตัวเอง นี่คือ ฉายานามที่ ท่านนบีมูฮัมมัด(ซ.ล.) “ อัลอามีน ” คือผู้ซื่อสัตย์ "

            เช่นเดียวกัน ความซื่อสัตย์ที่อยู่ในตัว คุณอิศรา ทั้งต่อตัวเอง และซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ และ เมื่อ คุณอิศรา สิ้นไป ชื่อของเขายังไม่ได้ตายไปตามตัว แต่ยังอยู่จนถึงทุกวันนี้  เดือนมีนาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันนักข่าว ก็จะมีการแจกรางวัล “ มูลนิธิอิศรา อัมมันตกุล ” นับเป็นสื่อมุสลิมคนแรก ที่มีบทบาทและถือว่า คุณอิศรา เป็นอมตะในวงการสื่อมวลชนไทยตลอดไป

            จักร์กฤษ ฯ บอกว่า เขาศรัทธาในการปฏิบัติของของคุณอิศา โดยศึกษาประวัติของคุณอิศรา ทำให้เรารู้ว่าการทำงานตรงไปตรงมา  ความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ และ ผมก็ปฎิบัติตามเช่นนี้มาตลอด จนสิ่งเหล่านี้มันอยู่ในสายตาของสื่อมวลชนโดยทั่วไปเป็นเวลาหลายสิบปี

            " ผมศรัทธาในตัว คุณอิศรา จนเป็นเงาสะท้อนความเป็นคนหนึ่ง ที่มั่นคงในหลักการมีจุดยืนที่ชัดเจน แน่วแน่ในศีลธรรม ไม่ว่าจะประสบความสำเร็จ หรือ ล้มเหลว ผมไม่เคยย่อท้อ สิ่งที่อาจจะเป็นแบรนด์ ในส่วนตัวผม ในเรื่องของความมีจริยธรรม ความมั่นคงในหลักการ และ ยึดความถูกต้องในการทำงานวิชาชีพเสมอมา "

            เมื่อมีการเลือกประธานสภากาหนังสือพิมพ์คนใหม่ ความจริงการเลือกครั้งนั้นมีคู่แข่ง ในยุคผมเป็นยุคแรก สมัยแรก เสนอตัวเข้ามาแข่ง แต่ในที่สุด เมื่อมีการเลือกแล้ว การแสดงวิสัยทัศน์ต่างๆ ผมก็ได้รับเลือกเป็นมติโดยเอกฉันท์ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ดูแลกันเอง ซึ่งเป็นองค์กรระดับชาติของสื่อมวลชนไทย

            จักร์กฤษ กล่าวถึง บทบาทในรอบ 2 ปี ที่นั่งเป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ว่า ที่ผ่านมาเขาทำหลายอย่าง ส่วนจะภูมิใจหรือไม่นั้น แต่เมื่อลงมือทำแล้ว มันคือ จิตวิญญาณ ผมทำงานเหล่านั้นด้วยจิตสำนึก เพื่อสื่อให้เห็นถึงความเป็นมุสลิม มันสะท้อนได้ว่า นี่ไม่ใช่ จักกฤษ นะ นี่คือ คนมุสลิม ที่ได้ก้าวมาถึงจุดนี้  

        
          " ผมประกาศเป็นนโยบาย องค์กรสมาชิกมากกว่า 50 องค์กร ไม่ว่าจะเป็นไทยรัฐหรือหนังสือพิมพ์หัวเล็กๆ ทุกสำนักมีศักดิ์ศรี เท่ากัน  นอกจากนี้จะพยายามปรับบทบาทขององค์กรสื่อ ให้เป็นสภาการสื่อสาร โดยรวมสื่อทุกชนิด ไม่ใช่เฉพาะหนังสือพิมพ์เท่านั้น "

            จักร์กฤษ บอกว่า ในฐานะที่เป็นองค์กรสื่อระดับชาติ ได้มองไปสู่ระดับอาเซียนด้วย ซึ่งไทยกำลังเข้าสูอาเซียน จากการพูดคุยกันในภาหนังสือพิมพ์ เราควรจะเป็นผู้นำในการจัดตั้งสภาหนังสือพิมพ์ ในเวทีอาเซียน การริเริ่มนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น  หลังจากเมื่อ ปี 2555 ผมได้ชวนอินโดนีเซีย และเมื่อปลายปี 55 ประมาณกลางปี 56 ที่ผ่านมา ก็เชิญประเทศในอาเซียน ลาว เวียดนาม เขมร อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์  7-8ประเทศ มาประชุมที่กรุงเทพ การประชุมครั่งนั้นก็เป็นที่มาของการลงนามความร่วมมือ (MOU) ที่จะจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ภายในประเทศ และ อินโดนีเซีย จะเป็นเจ้าภาพในการประชุมในครั้งต่อไป

            " เมื่อประสบความสำเร็จ เราจะได้ชื่อว่า เราเป็นผู้ก่อตั้งสภาการหนังสือพิมพ์อาเซียน ถึงจะยังไม่ปะสบความสำเร็จ แต่ก็น่าจะเป็นไปได้ "

            ส่วนอีกบทบาทหนึ่งเราคุยกันในเรื่องของจริยธรรมการทำงานสื่อ ต้องยอมรับว่า สังคมไทยที่ปั่นป่วนทุกวันนี้ มาจาก เรื่องจริยธรรม การคดโกง ( ปี 47) ผมก็เลยไปคุยกับ ผู้นำองค์กรหลายแห่ง เช่น  ปปช .ผู้ตรวจการแผ่น สภาทนายความ สถาบันพระปกเกล้า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก.พ. และ สภาการหนังสือพิมพ์  รวมตัวกันตั้งภาคีเครือข่ายเพื่อจริยธรรมแห่งชาติ  ซึ่งไปเปิดตัวเมื่อเร็วๆนี้

            ในฐานะประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เขาบอกว่าจะทำอย่างไร ให้สื่อเป็นสื่อมืออาชีพจริง และ นำสังคมไปในทางที่ถูก ที่ควร ไม่ใช่พูดเพียงด้านเดียว  เรากำลังคุยกันในเชิงจินตนาการ เพราะ เราไม่สามารถปฏิเสธโครงสร้างของสื่อได้ โดยเฉพาะสื่อหลักๆ ที่เป็นสถาบันหลัก ได้อำนาจของกลุ่มธุรกิจ ได้กำหนดทิศทางสื่อในการนำเสนอไปสู่ประชาชน มันมีความปนเปื้อนของเรื่องของทุน ค่อนข้างมาก

            " ผมคิดว่าในยุคต่อไปสื่อที่เป็นที่คาดหวัง และจะเป็นที่พึ่งพาได้ น่าจะเป็นสื่ออิสระ หรือ เป็นสื่อที่ไม่ขนาดใหญ่มาก การระดมทุนมาก หรือไม่ก็ไม่ต้องทุ่มทุนมาก ทุกวันนี้เราจะพยายามจะขยายธุรกิจ โดยเฉพาะในยุคสื่อดิจิตัล โดยที่เราไม่รู้ว่า 3 หรือ5 ปีข้างเป็นอย่างไร  แต่มันเป็นการช่วงชิงการนำ เป็นการสร้างภาพพจน์เพื่อให้เห็นว่า มีการขยายฐานทางธุรกิจหรือต่างๆนาๆ เสร็จแล้วสิ่งเหล่านี้มันอาจจะฉุดดึงสื่อหลัก ที่เค้าทำอยู่ มันอาจจะล้มเหมือนโดมิโน่ เพราะเป็นเรื่องฉาบฉวย

            ดังนั้น การปฏิรูปสื่อ มันไม่ได้วัดด้วยการประมูลได้ หรือรับประมูลมาสูง เช่นเดียวกันการปฏิรูปสื่อจะวัดด้วยเงินไม่ได้ จะดูความสวยงามไม่ได้ ใครจะเป็นคนบอกว่าดีไม่ดี แต่การปฎิรูปสื่อ ยังมีความจำเป็นที่จะนำพาไปสู่ความเป็นมืออาชีพสื่อ และเป็นที่ตาดหวังสังคมอย่างแท้จริง

 


กว่า 20ปี บนถนนน้ำหมึก" จักร์กฤษ  เพิ่มพูล "

            จักร์กฤษ  เพิ่มพูล  เกิดเมือ 1 มกราคม 2500 จบการนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง  และนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง  (บ.ย.ส.14 ) วิทยาลัยการยุติธรรม

            เขาเริ่มเข้าสู่วงการนักหนังสือพิมพ์เมือ่ปี 2523 จากตำแหน่ง ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจและการเมือง  น.ส.พ.หลายฉบับ ก่อนจะเข้าสู่สังกัดเครือเนชั่นในปี 2531 ในตำแหน่ง ผู้ช่วยหัวหน้าข่าว นสพ.กรุงเทพธุรกิจ 

            เส้นทางวิชาชีพก้าวหน้าเรื่อย โดยไดรับความไว้วางใจให้เป็น บรรณาธิการบริหาร กรุงเทพธุรกิจ  และบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา กรุงเทพธุรกิจ  ต่อมา ในปี 2554 –    2555   เขานั่งในตำแหน่ง บรรณาธิการเครือเนชั่น  ก่อนจะก้าวมาเป็น คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น .ในปี 2555

            นอกจากจะยึดอาชีพสื่อแล้ว จักร์กฤษ ยังเป็นอาจารย์พิเศษ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ    คณะนิเทศศาสตร์  มหาวิทยาลัยหัวเฉียว  คณะนิเทศศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตและ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

            เขายังมีงานวิจัย อีหลายเรื่อง อาทิเช่น งานวิจัยเรื่องการเป็นเจ้าของข้ามสื่อ กรณีศึกษาเนชั่นกรุ๊ป คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ปี 2540  และ การฟ้องคดีหมิ่นประมาท บรรณาธิการสื่อใหม่ วิทยาลัยการยุติธรรม ปี 2553

            ปัจจุบัน เขานั่งเป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  และยังเป็นกรรมการจรรยาบรรณ สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  อดีตประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน  สถาบันอิศรา และยังมีมีบทบาทในองค์กรวิชาชีพสื่อ อีกหลายตำแหน่ง

 

++++++++++++++++++++

อิบรอฮีม  อะมัน  หรือ อิศรา อมันตกุล

โดย วสันต์ ทองสุข

 

  
        วันที่ 20 ตุลาคม 2501 จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชน์ ทำรัฐประหารเป็นครั้งที่ 2 จาก จอมพลถนอม กิตติขจร

        หลังจากนั้นเพียง 1 วัน หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ถูกปิด นายอิบรอฮีม  อะมัน ในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกเดลินิวส์ รวมถึงบรรณาธิการ และ นักหนังสือพิมพ์อีกหลายคนถูกจับด้วยข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ โดยถูกคุมขังเป็นเวลา 5 ปี 10 เดือน จึงถูกปล่อยตัวไปโดยไม่มีการส่งฟ้องศาล เมื่อเดือนกันยายน 2507 หลังจากนั้น นายอิบรอฮีม เข้ารับตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์แนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์ (หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ในปัจจุบัน)

            นายอิบรอฮีม อะมัน เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2464 เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 10 คนของนายม.ชาเลย์ และนางวัน จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนบำรุงวิทยา ถนนจักรพงษ์ และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 8 จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ในปี 2472 โดยมีคะแนนในวิชาภาษาอังกฤษสูงสุดของประเทศ และสอบได้คะแนนเป็นอันดับที่ 1 ของนักเรียนทั่วประเทศในรุ่นนั้น ต่อมาไปทำงานเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ร่วมกับคณะมิชชันนารี ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 2 ปี

            อิบรอฮีม เริ่มงานหนังสือพิมพ์กับนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ และนายมาลัย  ชูพินิจ ที่หนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ และหนังสือพิมพ์ประชามิตร จากนั้นได้ร่วมก่อตั้งหนังสือพิมพ์สุวัณณภูมิ กับนายทองเติม  เสมรสุต นายเสนีย์  เสาวพงศ์ และนายวิตต์ สุทธิเสถียร

            อิบรอฮีม  อะมัน สมรสกับนางสเริงรมณ์ (นามสกุลเดิม บุนนาค) ธิดาของพลโท พระยาสีหราชเดโช ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรก และดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 3 ปี ติดต่อกันในปี 2499-2500-2501 และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2512 หลังเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นเวลาเกือบ 10 เดือน

            เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2512 สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ได้มีมติร่วมกันให้จัดตั้ง “มูลนิธิอิศรา อมันตกุล” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ นายอิบรอฮีม อะมัน จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2514

            อิศรา  อมันตกุล หรือ อิบรอฮีม  อะมัน ผู้มีฉายาว่า “นักบุญ” เป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของประเทศไทย และเป็นนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรก ผู้เป็นแบบอย่างที่งดงามของสื่อมวลชนในความหนักแน่นต่อหลักจริยธรรม ความรักในเสรีภาพ และ การต่อสู้ต่ออำนาจอธรรมทั้งมวล

            ถึงเวลาที่สื่อมวลชนทุกแขนง ทุกๆคน ต้องหยุดสำรวจตัวเองกันแล้วว่า ได้ทำหน้าที่อย่างสมศักดิ์ศรีกันหรือยัง

            อิบรอฮีม อะมัน คือ สื่อมวลชนอหังการ์ ที่สมควรศึกษาเป็นแบบอย่าง ได้ในยามที่ประชาชนหมดศรัทธากับสื่อ “บางจำพวก” ที่นับวันจะสร้างความแตกแยกขึ้นในสังคม !

 

   




หมายเหตุ : ตีพิมพ์ครั้งแรก นิตยสาร ดิ อะลามี่ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2557