Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   ” พีรพจน์ เมธาพงศ์บริบูรณ์

 พีรพจน์ เมธาพงศ์บริบูรณ์

" อาสาดำเนินการออกเอกสารสิทธิ์เพื่อสิทธิประโยชน์ของมัสยิดทั่วประเทศ”

โดย วรัญญา พุ่มเพ็ชร

                (Interviewนิยามของความสำเร็จ อาจไม่ใช่แค่การมีเงินเท่านั้น แต่หมายรวมถึง การเป็นคนมีคุณภาพของสังคม และที่สำคัญคือ การที่ตนเองมีโอกาสแต่มิได้ฉวยโอกาส แต่กลับยื่นโอกาสให้กับสังคม ที่ขาดโอกาสนั้น ๆ

             
   
                เรากำลังพูดถึง “พีรพจน์ เมธาพงศ์บริบูรณ์” ชายวัยย่าง 60 ปี จากจังหวัดนครนายก วันนี้ไม่เพียงแต่เขาประสบความสำเร็จเรื่องครอบครัวเท่านั้น แต่เขายังเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง การช่วยเหลือและประสานงานภารกิจสำคัญ ในการช่วยแก้ไขปัญหาที่ดินมัสยิดทั่วประเทศ

                พีรพจน์ เปิดบ้านหลังใหม่ ต้อนรับทีมงาน อะลามี่ ย่านถนนรามคำแหง (ซอยมิสทีน) ก่อนจะเล่าถึงเรื่องราวในอดีตของเขาให้ฟังว่า โดยพื้นฐานทางครอบครัวพ่อแม่ อาชีพทำนา ด้วยคนที่ผ่านสถาบันศาสนาในวัยเยาว์ ทำให้ชีวิตผูกพันกับชุมชน  เคยทำหน้าที่ในตำแหน่ง บิหลั่น มัสยิดซัยคุ้ลอิสลาม ตำบลบึงศาล อ.องครักษ์ จ.นครนายก ตั้งแต่อายุ 17 จนถึง 32 ปี จากนั้นจึงได้ลาออกมา

                “เราทำงานในพื้นที่มานาน  ประกอบการได้รับการยอมรับจากคนในวงการที่ดินมากขึ้น จึงได้ลาออก มาทำงานในเรื่องของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยได้จับโครงการ ย่านถนนราษฎร์อุทิศ แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ  ด้วยการเข้าไปซื้อกิจการจากเจ้าของเดิมซึ่งมีปัญหาทางการเงิน มาพัฒนาโครงการ และขายโครงการ ซึ่งนั่นนับเป็นงานชิ้นแรก ที่ประสบความสำเร็จ เมื่อปี 2526 ”

                แต่วิถีชีวิตไม่ได้หยุดนิ่ง “ พีรพจน์ ” ยังมีบทบาทหลายอย่างในองค์กรศาสนา  ประมาณปี 2522 เขาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหาร ชมรมวิทยุภาคมุสลิม ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมนักจัดรายการวิทยุของภาคมุสลิมโดยมี คุณชาลี คุรุสวัสดิ์ ผู้ก่อตั้งชมรม

                นอกจากนี้ยังเป็นผู้ประสานงาน และเบื้องหลังความสำเร็จของกิจการศาสนาอิสลามหลายอย่าง นับตั้งแต่ยุคของ อดีตจุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสน์  รวมถึงอดีตจุฬาราชมนตรี ประเสริฐ มะหะหมัด  และ อดีตจุฬาราชมนตรี สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์

                ปัจจุบัน “ พีรพจน์ ” ยังคงดำเนินธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทหลายแห่ง รวมถึงที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการที่ดินให้อีกหลายตระกูล

                แต่ด้วยที่เป็นคนที่อยู่ในวงการอสังหาริมทรัพย์ จึงมองเห็นปัญหาที่คนอื่นมองข้าม นั่นคือ ปัญหาของชุมชนมุสลิม โดยเฉพาะการถือครองที่ดินของมัสยิดซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย รวมถึงที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของสุสานมุสลิม(กุโบร์)ด้วย  จากประสบการณ์พบว่าที่ผ่านมา ที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์(โฉนด)เหล่านี้ หากไม่ดำเนินการให้ถูกต้อง ในระยะยาวที่ดินทั้งหลายที่ไม่มีโฉนด อาจตกเป็นที่ดินของรัฐ และทำให้ชุมชนเสียโอกาส ”

                พีรพจน์ บอกถึงที่มาของ โครงการแก้ไขปัญหาที่ดินของมัสยิดทั่วประเทศ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2556 ที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินครอบคลุม 68 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิ ต่วน สุวรรณศาสน์ จุฬาราชมนตรี  ชมรมนักกฎหมายมุสลิม และกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย

                โดยมีท่านผู้หญิงสมร ภูมิณรงค์ เป็นประธานโครงการ ท่านอารีย์ วงษ์อารยะ ประธานที่ปรึกษาโครงการ  และ พีรพจน์ เมธาพงศ์บริบูรณ์ ผู้ประสานงานโครงการและประธานคณะทำงาน  มี คุณสมชาย อับดุลเลาะห์ ผู้แทนจากชมรมนักกฎหมายมุสลิม เป็นเลขานุการ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องขอขอบคุณ คุณวานิตย์  อินทรักษ์ รองอธิบดีกรมที่ดิน คนปัจจุบันที่รับเป็นรองประธานที่ปรึกษาโครงการ  ซึ่งท่านได้ให้ความอนุเคราะห์ในทุกๆด้านเป็นอย่างดี 

                โครงการนี้ มีจุดมุ่งหมายช่วยให้ที่ดินของมัสยิดที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ ได้มีเอกสารสิทธิ์ตามกฎหมาย เพื่อที่มัสยิดจะได้บริหารจัดการในที่ดินดังกล่าวได้ รวมถึงการขยาย ต่อเติม หรือก่อสร้างมัสยิด และเป็นสินทรัพย์ของมัสยิดที่มั่นคงถาวรต่อไป โดยคณะทำงานจะเข้าไปช่วยดำเนินเรื่องทุกขั้นตอน  ตั้งแต่แนะนำ จัดทำเอกสาร รายงานการประชุม  ตรวจสอบความถูกต้อง ยื่นเรื่องต่อเจ้าหน้าที่ ดูแลเรื่องการรังวัด แบ่งแยก  และประสานงานติดตามเรื่องราวทุกหน่วยงาน  ทุกขั้นทุกตอนจนกว่ามัสยิดจะได้รับเอกสารสิทธิ์   ซึ่ง ปัจจุบัน  ประเทศไทยมีมัสยิดที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายทั้งสิ้น 3,722 มัสยิด

                แม้ภารกิจในการช่วยแก้ไขปัญหาที่ดินของมัสยิดเหล่านี้จะมีปัญหา และอุปสรรคมากมาย เขาและคณะทำงานก็ไม่เคยท้อ เพราะ ตั้งใจไว้ตั้งแต่เริ่มทำโครงการว่า ตราบใดที่อัลเลาะห์ (ซ.บ.)ยังให้เรามีกำลัง  มีความสามารถในการทำงานอยู่  เราก็จะทำจนกว่าปัญหาเหล่านี้จะแก้ไขได้ลุล่วง.

            " มัสยิด เป็นการบริหารในนามนิติบุคคล จึงอยากให้กรรมการมัสยิด ตรวจสอบว่าที่ตั้งของมัสยิด และสุสานว่า มีเอกสารสิทธิ์หรือไม่  ทั้งนี้สามารถประสานงานกับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ นอกจากค่าธรรมเนียมในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ตามกฎหมาย ตามระเบียบของกรมที่ดินเท่านั้น    "


            พีรพจน์ บอกว่า โครงการนี้ต้องขอขอบคุณกรมที่ดิน  ที่ได้มีหนังสือเวียนไปถึงเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดทุกจังหวัด ทุกสาขาทั้งประเทศ เพื่อให้ความร่วมมือสนับสนุน  และอำนวยความสะดวกกับโครงการอย่างเต็มที่ โดยได้ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั้ง 39 จังหวัด จัดการประชุมร่วมระหว่าง คณะทำงานของโครงการ  วิทยากรจากกรมที่ดิน สำนักงานที่ดินประจำจังหวัด  และบรรดาอิหม่ามประจำมัสยิด เพื่อชี้แจงให้ทราบถึงปัญหาที่ดินของมัสยิด  และแนวทางวิธีปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหานั้นๆ ให้สำเร็จลุล่วง 

                ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ทำให้เราได้รับทราบว่ามัสยิดประมาณ  50 เปอร์เซ็นต์ ยังมีปัญหาเรื่องที่ดินที่ยังมิได้จัดการแก้ไข เช่น  การที่กุโบร์มีการฝังมาหลายร้อยปีแล้ว  แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ใดๆ ในที่ดิน , ที่ตั้งของมัสยิดเป็นที่ดินมีเอกสารสิทธิ์ แต่ยังไม่ได้โอนเพราะผู้อุทิศเสียชีวิตไปนานแล้ว  , ที่ตั้งของมัสยิดมีเอกสารสิทธิ์ แต่ผู้อุทิศที่ยังมีชีวิต ไม่ยอมโอน , ชื่อในโฉนดเขียนชื่อมัสยิดผิด  ฯลฯ

                “อุปสรรคและปัญหาของที่ดินมัสยิด ไม่ได้อยู่ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่หาก มีขั้นตอนมากมาย จึงปล่อยปละละเลยในเรื่องการจัดการเอกสารสิทธิ์  รวมไปถึงการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ดินด้วย ซึ่งหากปล่อยไว้ ในอนาคตเมื่อที่ดินมีมูลค่ามากขึ้น  ที่ดินที่เคยเป็นของมัสยิด ก็อาจถูกรัฐยึดกลับคืนไปเป็นของกระทรวงการคลัง ดั่งเช่นที่เกิดขึ้นมาแล้วกับมัสยิดหลายแห่งปัญหาอยู่ที่คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด มองว่า การดำเนินการเรื่องที่ดินเป็นเรื่องยุ่งย

           “เพราะอัลเลาะห์(ซ.บ.)ให้สติปัญญา ให้สมองผมมีความรู้มาทางด้านนี้  ผมจึงต้องตอบแทนโดยการช่วยเหลือกิจการของศาสนา และถือว่ามันเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ในฐานะมุสลิม ที่จะต้องทำตามกำลังความรู้ความสามารถ แม้หากผมไม่ทำ ผมก็จะมีความผิด ทั้งนี้โดยส่วนตัวครอบครัวก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง จึงทำเรื่องนี้ เพื่อเป็นประโยชน์และตอบแทนสังคม “

                ครอบครัว “เมธาพงศ์บริบูรณ์” นับเป็นโมเดลให้กับสังคมได้ในระดับหนึ่ง “พีรพจน์  เมธาพงศ์บริบูรณ์” ในฐานะหัวหน้าครอบครัว สมรสกับคุณนิภา เมธาพงศ์บริบูรณ์ มีทายาทหญิง-ชาย 2 คน คนโตชื่อ เมธาวดี  เมธาพงศ์บริบูรณ์  จบปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณหารลาดกระบัง ส่วนลูกชายคนเล็ก “เอกวิชญ์ เมธาพงศ์บริบูรณ์” จบปริญญาตรี วิทยาลัยบริหารและการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณหารลาดกระบัง  เช่นกัน ล่าสุดเพิ่งรับปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ เอกการตลาด มหาวิทยาลัยรามคำแหง .

 
หมายเหตุ : ตีพิมพ์ครั้งแรก นิตยสาร ดิ อะลามี่ ฉบับเดือนเมษายน2557