Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   เมาลิดกลาง 1436: รัฐบาลเตรียมทุ่มงบหมื่นล้าน หนุนอุตสาหกรรมฮาลาล ดันสู่ติด1ใน5ของโลก

  รัฐบาลเตรียมทุ่มงบหมื่นล้าน หนุนอุตสาหกรรมฮาลาล ดันสู่ติด1ใน5ของโลก
 
               เมาลิดนิวส์ : ฮาลาลไทยเฮ! รัฐบาลทุ่มส่งเสริมฮาลาลเพิ่มการส่งออก ติด 1 ใน 5 ของโลก กำหนดยุทธศาสตร์ 5 ปี เสนองบประมาณ 10,000 ล้านบาทส่งเสริมทั้งระบบ ชี้จะส่งผลให้มีการจ่างงานเยาชนมุสลิมหลายพันคน

              วันที่ 7 มีนาคม ในการจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮ.ศ.1436 ได้มีการสัมมนา ในหัวข้อ เรื่อง ฮาลาล ประเทศไทย ฮาลาลเพชร กับการแข่งขันในตลาดเศรษฐกิจ ฮาลาลโลก บรรยายโดยนายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และรศ.ดร.ปกรณ์ ปรียากร ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย

             อธิบดรีกรมส่งเสริมอุสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลหลายรัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจฮาลาล ในรัฐบาลบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา แต่ไม่ได้ดำเนินการอะไรมากนัก เพราะมีปัญหาทางการเมือง จนมีถึงรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพธุรกิจและสินค้าฮาลาลแห่งชาติขึ้นมาเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557

             โดยมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีตัวแทนจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อาทิ พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางฯ ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล และดร.ปกรณ์ ปรียากร ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานฮาลาล โดยมีกระทรวงที่เกี่ยวข้องมาร่วมเป็นกรรมการฯ

             
 นายอาทิตย์ กล่าวว่า รัฐบาลเห็นความสำคัญของฮาลาล ซึ่งประกอบด้วย อาหาร ผลิตภัณฑ์ และบริการที่หลากหลายโดยสินค้าฮาลาลในมีมูลค่า 3 ล้านล้านเหรียญต่อปี ประเทศไทยส่งออกเป็นอันดับ 13 มีมูลค่าไม่มากนัก รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย อันดับ 1 เป็นบราซิล รองลงมาเป็นสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่ใช่ประเทศมุสลิม ซึ่งประเทศไทยก็สามารถทำได้

               คณะกรรมการฯ ได้ประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม ได้นำยุทธศาสตร์ต่างๆที่ศึกษาไว้มาพิจารณา ซึ่งแต่ละกระทรวงได้ศึกษาข้อมูลไว้แล้ว สามารถนำมาดำเนินการได้เลย ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาวางยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจการฮาลาล กำหนดแผน 5 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559-2563 และตั้งอนุกรรมการมาพิจารณาในแต่เรื่อง จากการประมูลข้อเสนอและแผนงานที่ฝ่ายต่างส่งมานั้น ตลอดเวลา 5 ปี ใช้งบประมาณ 10,000 ล้านบาท หรือ ปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท” นายอาทิตย์ กล่าวและว่า

              ทั้งนี้จำนวนเงินที่นำเสนอ จะได้รับการอนุมัติเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขณะเดียวก็เสนอแนวทางการพัฒนาฮาลาล โดยนำเสนองบประมาณให้คณะกรรมการกลางอิสลามฯ เพื่อจัดสรรให้กับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปีละ 200 ล้านบาท รวม 5 ปี เป็นเงิน 1,000 ล้านบาท

             “การกำหนดยุทธ์ศาสตร์ 5 ปี จะทำให้การทำงานมีความต่อเนื่อง รัฐบาลใหม่เข้ามาก็ไม่มีปัญหา เพราะมีแผนอยู่แล้ว จะทำให้การพัฒนาส่งเสริมมีความต่อเนื่อง ” อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าว และว่า

              ตามยุทธ์ศาสตร์ที่วางไว้ ได้วางผลสัมฤทธิ์เอาไว้ด้วย อันดับ 1. ระบบการตรวจรับรองฮาลาลของประเทศไทย จะต้องมีมาตรฐานได้รับการยอมรับ ถือเป็นประเด็นสำคัญ 2. พัฒนาผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่ระบบการผลิตฮาลาลมีมาตรฐาน 3. ระบบการตลาดสามารถขยายการตลาดได้ตามเป้าหมาย และมีระบบการตรวจสอบที่ชัดเจน “ตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ จะต้องส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ฮาลาล มียอดการส่งออกติดอันดับ 1 ใน 5 หรือถ้าไม่อยู่ 1 ใน 5 ก็จะต้องติด 1 ใน 10 เป็นอย่างน้อย

              นายอาทิตย์ กล่าวอีกว่า กระทรวงอุตสาหกรรมเองก็มีโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่อยู่แล้ว ที่ผ่านมาก็ได้ลงไปส่งเสริมพี่น้องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่แล้ว ก็จะประสานมายังคณะกรรมการกลางฯ เพื่อให้ผู้ประกอบการมุสลิมไปฝึกอบรม เพื่อสร้างผู้ประกอบการมุสลิม

              ด้าน ดร.ปรกรณ์ ปรียากรณ์ กล่าวว่า ระบบการตรวจรับรองฮาลาลของไทย เกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2483 สมัยอาจารย์ต่วน สุวรรณศาสน์ เป็นจุฬาราชมนตรี และปี 2540 ก็มีการออกกฎหมายการบริหารกิจการอิสลาม เป็นคุณูปการให้มีการพัฒนากิจการฮาลาล มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 39 จังหวัด เป็นผู้ตรวจรับรองฮาลาล ในปี 2546 ก็มีการจัดตั้งสถาบันมาตรฐานฮาลาล เพื่อทำหน้าที่พัฒนาส่งเสริมกิจการฮาลาล

               “เราอยู่ภายใน อาจจะไม่เห็นว่า เราทำงานไม่ดี หรือ อาจจะหมิ่นแคลน แต่ต่างประเทศ ให้การยอมรับ ในฐานะที่ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศมุสลิม แต่สามารถผลักดันให้มีการบริหารเกี่ยวกับมุสลิม โดยเฉพาะเรื่องฮาลาล หลายประเทศที่มีมุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อย ก็ใช้ประเทศไทยเป็นต้นแบบ อย่างญี่ปุ่น มาดูงานในประเทศไทย ก็ให้การยอมรับ และให้ฝ่ายฮาลาลของเราไปพัฒนาฮาลาลให้กับญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นเล็งเห็นว่า ฮาลาลมีความสำคัญ มุสลิมมีจำนวนมากที่เดินทางไปญี่ปุ่น และต้องการอาหารฮาลาล เราก็ไปให้การฝึกอบรม หากไม่ไหวเขาก็จะส่งคนของเขามาประเทศไทย “

              ดร.ปรกรณ์  กล่าวอีกว่า ความจริงแล้ว เขาจะให้เราไปรับรองฮาลาลให้ แต่เราไม่เอา เพราะต้องให้แต่ละประเทศดำเนินการเอง ตอนนี้ ญี่ปุ่นก็เลย จ้างนักศึกษามุสลิมมาทำงาน ให้ทุน และใช้เงินเดือนสูง เป็นเรื่องดีของฮาลาลที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานลงมา ในประเทศไทย หากเราทำได้ตามแผน 5 ปี ตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ ก็จะทำให้เราสร้างงานให้กับเยาวชนมุสลิมจำนวนมาก ในด้านการตรวจสอบฮาลาล ประมาณ 5,000 คน และนักวิยาศาสตร์ฮาลาลประมาณ 1,000 คน  ดังนั้น เราต้องไปสร้างบุคคลากรด้านนี้เพื่อมาทำงาน ซึ่งตอนนี้ บุคลากรด้านฮาลาลเราขาดแคลน