Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   พรบ.กฎหมายเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ฯ ส่อเค้าแท้ง

พรบ.กฎหมายศาสนาอิสลาม แท้ง..!!

            สำนักข่าวอะลามี่ : พรบ.กฎหมายเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม  ฯ ส่อเค้าแท้ง  ล่าสุด คณะกรรมกลางอิสลามฯ และจุฬาราชมนตรี  ทำหนังคัดค้าน  อ้าง พรบ.ที่เกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม ควรผ่านการเห็นจากองค์กรศาสนา หวั่นสร้างความขัดแย้งแตกแยกในสังคมมุสลิม

            แหล่งข่าวเปิดเผยว่า  หลังจาก คณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณากฎหมายเกี่ยวศาสนาอิสลาม  โดยมี ศาสตราจารย์ จรัล มะลูลีม เป็นประธาน โดยมีคณะทำงาน ซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ  ตัวแทนจากสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา  ภาคประชาชน  และตัวแทนองค์กรศาสนา จำนวน  21 ท่าน

            โดยคณะทำงานมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับศาสนาอิสลามจำนวน 6 ฉบับ ประกอบด้วย ร่างพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ..... ร่างพระราชบัญญัติการบริหารกิจการฮัจย์ พ.ศ. ..... ..... ร่างพระราชบัญญัติกิจการฮาลาล พ.ศ. ........... ร่างพระราชบัญญัติครอบครัวและมรดก พ.ศ. ..... ..... ร่างพระราชบัญญัติการเงินอิสลาม พ.ศ. .... และ ร่างการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเหี่ยวกับการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว  เพื่อเสนอ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาต่อไป

            แหล่งข่าว เปิดเผยว่า หลังจากได้รับการแต่งตั้ง คณะทำงาน เริ่มประชุม และเริ่มวางกรอบการทำงาน และกำหนดขั้นตอน วิธีการ การพิจารณาความเห็น แต่ปรากฏว่า ล่าสุด การพิจารณาดังกล่าว คงหยุดชะงัก และคณะทำงานอาจถูกยุบลงไป เนื่องจาก เมื้อเร็วๆนี้  คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และ จุฬาราชมนตรี  ทำหนังสือ ที่ สกอท.01.007/2558 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2558 ถึง ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (นายพรเพชร วิชิตชลชัย)  แสดงความไม่เห็นด้วยและ คัดค้านการพิจารณา กฎหมายและ พรบ.เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม ทั้ง 6 ฉบับ

             โดยในหนังสือคัดค้านฉบับดังกล่าว อ้างมติการประชุมของคณะกรรมการกลางฯ  ว่า ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับศาสนาอิสลามหลายฉบับ เป็นกิจการศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการอิสลามฯตาม พรบ.อิสลาม 2540 ที่ประชุมจึงมีมติคัดค้านการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณากฎหมายเกี่ยวศาสนาอิสลาม  

            โดยเห็นว่า การนำร่าง พรบ.ดังกล่าวมาพิจารณาปรับปรุง ไม่ผ่านการับฟังความเห็นจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น จุฬาราชมนตรี  สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย  หรือสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด อาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งและสร้างความแตกแยกในสังคมมุสลิมได้

            ในหนังสือคัดค้าน ยังระบุอีกว่า ในการนี้ จุฬาราชมนตรี และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีความเห็นว่า หากจะมีการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับกิจการการศาสนาอิสลาม สมควรผ่านความเห็นขององค์กรศาสนา ตาม พรบ .2540   

            “และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไข พรบ.เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ทางคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย จำนำเสนอต่อท่านประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป โดยจดหมายลงนามโดย นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี /ประคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6กรกฎาคม 2558 “  หนังสือคัดค้าน ระบุ

            โดยหนังสือดังกล่าวได้ลงเลขรับสำนักงานประธานวุฒิสภา  เลขที่ 583/58 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2558  

            ขณะเดียวกัน นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ลงนามในเอกสารดังกล่าว โดยจะจัดส่งคณะกรรมาธิการฯเข้าชี้แจงต่อท่านจุฬาราชมนตรี ต่อไป