Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   HEMCO : เทคโนโลยีคนไทย

HEMCO : เทคโนโลยี ฝีมือคนไทย

ผู้นำพลังงานบนดิน สู่พลังงานทางเลือก

++++++++++++++++++++++

            สำนักข่าวอะลามี่ : จากวิกฤติราคาพลังงานปรับตัวขึ้นลง ประเทศไทย ต้องนำเข้าพลังงานเป็นมูลค่าเกือบหนึ่งล้านล้านบาท ในปี 2550 และ เพิ่มเป็น 1.8 ล้านล้านบาทในปีที่ผ่านมา ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบ ตลอดจนประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรงจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น

            รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงาน มีนโยบายจะพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นแหล่งพลังงานหลักของประเทศ ด้วยการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (พ.ศ. 2551 –2565) ขึ้น มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้เป็นร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศ ภายในปี 2565

           บริษัท การจัดการสิ่งแวดล้อมหาดใหญ่ จำกัด คือ หนึ่งในความหวังและกลไกขับเคลื่อนในเรื่องพลังงานทางเลือกด้วยประสบการณ์กว่า 17 ปีบนธุรกิจสายนี้

           เรามาทำความรู้จักเทคโนโลยีของคนไทยที่ก้าวไกลสู่ระดับสากลผ่านมุมมองของ “ สุชาติ ตังละแม “ กรรมการผู้จัดการ บริษัท การจัดการสิ่งแวดล้อมหาดใหญ่ จำกัด

           สุชาติ เกริ่นถึงพลังงานทางเลือก ในระบบไบโอแมส ว่า เป็นหนึ่งพลังงานทางเลือก คือการผลิตแก๊สจากพืช เป็นการสร้างพลังงานทดแทน ซึ่งปัจจุบันมีวัสดุที่นำมาสร้างพลังงานทางเลือกได้หลากหลาย

           “บริษัทมีประสบการณ์การผลิตพลังงานทางเลือกร่วม 17 ปี มีผลงาน เป็นที่ปรึกษาของโรงงานปาล์มในภาคใต้ ด้วยการผลิตพลังงานทดแทนจากของเสียแล้ว 11 บริษัท “
           สุชาติ กล่าวว่า นอกจากโรงงานจะผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองแล้วยังสามารถขายไฟฟ้าให้กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไฟ นอกจากนี้ยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 12 แห่ง รวมทั้งหมด 23 แห่ง ( ภาพประกอบรายชื่อ BIOGASที่ดำเนินการและขายไฟฟ้าแล้ว )

         “ กว่าครึ่งของโรงงานที่เราเข้าไปเป็นที่ปรึกษา เราจะเข้าไปผู้ถือหุ้นกับโรงงานที่ต้องการเปลี่ยนระบบเป็นพลังงานทางเลือก เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจผู้ประกอบการ “

          นี่คือการสร้างความเชื่อมั่นถึงเทคโนโลยีภายใต้ของบริษัท บริษัท การจัดการสิ่งแวดล้อมหาดใหญ่ จำกัด นอกจากนี้ ยังมีบริษัทลูกอีก 3 บริษัท ประกอบด้วย..... (ช่วยเติมชื่อบริษัท ให้ด้วยนะครับ) .........

          สุชาติ กล่าวถึงเป้าหมายของบริษัทว่า “ เราอยากจะเป็นผู้นำด้าน พลังงานทางเลือก”  ทั้งนี้ ถ้ามองถึงพลังงานในระบบไบโอแก๊ส มั่นใจว่า เทคโนโลยีในประเทศไทย เป็นผู้นำในอาเซียน เพราะฉะนั้นในภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น พม่า กัมพูชา เวียดนาม หรือแม้แต่ อินโดนีเซีย กับ มาเลเซีย มองว่าจะเป็นโอกาสอย่างมากสำหรับเรา

          “ ในมาเลเซีย และ อินโดนีเซีย พบว่าโรงงานอุตสาหกรรมที่แปรรูปเป็นพลังงานทางเลือกมีน้อยมาก อาจจะด้วยเนื่องจากนโยบายของรัฐบาล แต่ในอนาคต เรื่องสิ่งแวดล้อม ทำให้เขาจะต้องทำการบำบัดในลักษณะที่เรากำลังดำเนินการ เพราะมิฉะนั้นจะถูกกีดกันทางการค้า ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีบ้างแล้ว เช่น การเพราะปลูกที่เกิดจากการเผาป่า การทำในลักษณะนี้ไม่สามารถทำได้แล้ว ”

          นอกจากนี้ โรงงานที่ปล่อยน้ำเสียสร้างมลพิษกับสังคม ก็ไม่อาจทำได้ แต่ ระบบไบโอแก๊ส เข้ามาจัดการกับระบบน้ำเสีย และจะได้นำมาใช้ประโยชน์ด้วยการแปรูปเป็นพลังงานมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้อีกเยอะมาก

           สุชาติ บอกว่า เขากำลังหาโอกาสที่จะเข้าไปต่อยอดธุรกิจในประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ทั้งนี้ เราไม่สามารถไปเพียงลำพัง  นั่นหมายถึงเราจะต้องมีคู่ค้าทางธุรกิจหรือพาสเนอร์  ทั้งนี้เราวางอนาคตของเราจะเป็นบริษัทที่มีเทคโนโลยีเพื่อส่งออก ด้วยการสร้างทรัพยากรบุคคล ส่งพนักงานที่มีโอกาสที่จะเติบโต เพื่อพัฒนาศักยภาพ ซึ่งในอนาคต เรากำลังมองว่าอาจต้องจัดตั้งกองทุนคล้ายๆกับเป็นกองทุนด้านพลังงานทดแทน อย่างไรก็ตามเรายังเชื่อว่า โอกาสที่เราจะสามารถสร้างพลังงานบนดิน ให้เป็นพลังงานทางเลือก ยังมีช่องทางอีกมหาศาล

          เขาบอกว่า เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้คือ การเป็นผู้นำด้านพลังงานทางเลือก ล่าสุด เริ่มมีการออกแบบทดลองทำการปลูกหญ้าเนเปีย ซึ่งเป็นหญ้าที่สามารถนำมาทดแทนการสร้างพลังงานทางเลือกแล้ว ที่ ศูนย์วิจัยสุราษฎร์ธานี เริ่มทำเรื่องของการทำ CHTR โดยการเป็นผสมผสาน ที่ไม่ใช่หญ้าอย่างเดียว แต่เราผสมผสาน คือ การเอาหญ้าเนเปีย ผสมกับทะลายของปาล์ม เป็น ไบโอแมส มันจะเป็นการผสมของแก๊สได้ดีขึ้น เราจะมีการทดลองปลูกหญ้า โดยเอาน้ำของไบโอแก๊ส เข้ามาใช้ประโยชน์
       “ ขณะนี้เขาได้ทดลองปลูก และมีการเอาน้ำเสีย ที่ออกมาจากการทำไบโอแก๊ส นำมาใช้กับนาปลูกหญ้าเนเปีย ซึ่งได้ผลได้เป็นอย่างดี และ สามารถที่จะปลูกได้ถึง ประมาณ 60-80 ตัน/ไร่/ปี ขณะที่ราคาหญ้าอยู่ที่ 50 สตางค์/ กิโลกรัม  โดยเฉลี่ย ปริมาณ 1 ตัน จะได้ราคาประมาณ 500 บาท (60วัน) เท่ากับเรามีรายได้ปีละประมาณ 3 หมื่นบาท/ไร่/ปี ซึ่งเมื่อเทียบกับการปลูกข้าว การปลูกหญ้า จะได้ราคาที่สูงกว่า รวมถึงราคายังสูงกว่ายางพาราด้วยซ้ำ เมือเฉลี่ยต่อปี “

         เขากล่าวว่า โอกาสของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ น่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ด้วยสภาพพื้นที่ดินเป็นดินเปรี้ยว ส่วนหนึ่งเป็นดินชุ่มน้ำ ทำให้เกิดนาร้างจำนวนมาก ซึ่งหญ้าเนเปีย สามารถทนได้เป็นอย่างมาก
         ปัจจุบันในพื้นนาร้างจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นับแสนไร่ อีกทั้งที่เป็นป่าพรุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็มีอยู่มาก เราสามารถเอาพื้นที่เหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้โดยรูปแบบการส่งเสริมในลักษณะของคอนแทคฟาร์มมิ่ง โดยเฉลี่ยคนละ 50 ไร่ ซึ่งพร้อมส่งให้กับบริษัทฯ ที่จะทำไบโอแก๊ส นี่คือทางเลือกด้านพลังงาน ที่จะสามารถที่จะกระจายได้กับชุมชน และนั่นคือการที่จะสร้างโอกาสกลับสู่ชุมชนได้เลย

         เขายังขายไอเดีย ต่อว่า เพื่อให้ชุมชนมั่นใจและได้ผลอย่างยั่งยืน คนที่เป็นคอนแทคฟาร์มมิ่ง ก็มาถือหุ้นในโรงไฟฟ้า เขาก็ยังได้ประโยชน์กับการขายไฟให้กับชุมชน  ซึ่งเป็นรายได้สองขา คือ สามารถขายพืชได้กำไรส่วนหนึ่ง และมาถือหุ้นโรงไฟฟ้า โรงไฟฟ้ามีรายได้จากการไฟฟ้ากับชุมชน เกษตรกรจะมีรายได้อีกทอดหนึ่ง ทั้งนี้ประมาณการณ์ว่า หากเป็นไปได้จริง เราสามารถผลิตไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า 100 เมกกะวัต

         “ ในประเทศเยอรมัน มีการปลูกพืช เพื่อทำไบโอแก๊ส ขณะที่ภูมิอากาศในเยอรมันสามารถใช้ได้แค่ 4 เดือน ส่วนอีก 6 เดือนไม่สามารถทำการเกษตรได้ แต่ของในประเทศไทยเรามีโอกาสถึง 365 วัน นี่คือคำถามของชาวเยอมันว่า ทำไมพวกคุณไม่ทำกัน ทั้งนี้มองว่าเราสามารถทำพลังงานบนดินได้อย่างไม่จำกัดเลย เพียงแต่เราต้องใส่งานวิจัยให้กับบุคลลากรของเรา “

          สุชาติ มองถึงการเข้ามาของ AEC ว่า ส่วนตัวมองว่าเป็นแรงบวกมากกว่า เพราะ นวัตกรรมนี้เราพัฒนาของเราเอง เพราะฉะนั้น การที่เราจะเอาเทคโนโลยีนี้ส่งต่อไปยังประเทศเพื่อบ้านของเรา ซึ่งอันนี้ผมถือว่าเป็นโอกาสของเราอยู่แล้ว เพียงแต่เราต้องพัฒนาทางด้านภาษา กับกฎและข้อระเบียบของแต่ละประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย เรื่องของกฎหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมเขาเข้มกว่าประเทศเรา

         “ ถ้ามองในแง่ของโอกาสปัจจุบันในประเทศอินโดนีเซียมี 600 กว่าโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม อันนี้คือ โอกาสชัดเจน แค่ให้เราเข้าไปแชร์ส่วนแบ่งสักประมาณ 30 % นั่นก็นับร้อยโรงงาน ซึ่มากกว่าโรงปาล์มในประเทศไทยอีก ขณะที่ในเมืองไทยมีโรงสกัดน้ำมันปาล์มประมาณ 60-70 โรง เท่านั้น คาดว่าภายในระยะเวลา 3-4 ปีข้างหน้าเราต้องไปถึงจุดนั้น “สุชาติ กล่าว

หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกนิตยสาร ดิ อะลามี่ ฉบับเดือนธันวาคม 2558