Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   โรคกลัวอิสลามระบาดหนัก

 
สำนักจุฬาราชมนตรี เร่งทำยุทธศาสตร์รับมือโรคกลัวอิสลามระบาด


              สำนักข่าวอะลามี่ : สำนักจุฬาราชมนตรี จับมือคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย จัดทำ ยุทศาสตร์การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมุสลิมกับพี่น้องต่างศาสนิก กำหนดทิศทางในการสร้างองค์ความรู้ การจัดการทรัพย์สิน และการสรา้งความสัมพันธ์ทั้งภายในและสานสัมพันธ์่ต่างศาสนิก หลังวิกฤติโรคกลัวอิสลามระบาดหนัก



               ดร.วิสุทธ บิลล่าเต๊ะ ผู้อำนวยการส่วนหน้าสำนักจุฬาราชมนตรี ในฐานะประธานฝ่ายวิชาการและการศึกษา คณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณี   ที่มีกลุ่มบุคคลออกมาคัดค้านกิจกรรมทางศาสนาอิสลาม และล่าสุด มีการยื่นหนังสือคัดค้าน พรบ.ฮัจย์ ว่า เรื่องนี้เป็นที่น่ากังวล เกรงว่าจะนำไกปสู่ความขัดแย้งในวงกว้างและบานปลาย

              ล่าสุดคณะกรรมการอิสลามจังหวัดสงขลาและสตูล  ได้เข้าพบ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมกับได้  ชี้แจงว่า การเคลื่อนไหวมุสลิมที่ผ่านมา ไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์ หรือเอาเปรียบเพื่อนต่างศาสนิก แต่เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างความเข้าใจ

               พร้อมกันนี้ ฝ่ายวิชาการและการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การเคลื่อนไหว เพื่อเผชิญกับความไม่เข้าใจ  จากต่างศาสนิก ที่ไม่เข้าใจอิสลาม โดยเสนอให้มียุทธศาสตร์ 3 ด้าน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ด้านความรู้  ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพย์สิน และ ยุทธศาสตร์ด้านความ  สัมพันธ์

               ทั้งนี้ คาดหวังว่า ยุทธศาสตร์ทั้ง 3 ด้าน จะสามารถนำไปสู่การปฎิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ยุทธศาสตร์ความรู้ เราจะต้องจัดการความรู้เรื่องอิสลาม โดยเฉพาะโรค  กลัวอิสลาม ว่าจะต้องเข้าไปจัดการอย่างไร และทรัพย์สิน ทำอย่างไรให้องค์กรศาสนาไม่หวังจากงบประมาณแผ่นดินอย่างเดียว เราต้องบริหารจัดการทรัพย์สิน โดย  เฉพาะสินทรัพย์ที่เรียกว่า วากัฟ และ เงินซากาต ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

               นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์ด้านความสัมพันธ์ จากปัญหาความเห็นต่างภายใน จะต้องจัดการความสัมพันธ์ให้มีเอกภาพ นำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ต่างศาสนิก

               ดร.วิสุทธ์ กล่าวว่า จากปรากฎการณ์ความไม่เข้าใจอิสลาม นำไปสู่โรคกลัวอิสลาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความสัมพันธ์อันดัระหว่างมุสลิมกับพี่น้องต่างศาสนิก เช่น จะต้องสร้างความรู้เชิงพหุวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ให้เห็นว่ามุสลิม มีบทบาทในบ้านเมืองมายาวนาน แต่ที่ผ่านมาเป็นประวัติศาสตร์ที่ถูกกดทับ

             นอกจากนี้ จะต้องสร้างองค์ความรู้เรื่องเอกภาพ และความสามัคคี เพื่อให้เกิดสำนึกและมีความเคารพซึ่งกันและกัน โดยการใช้สื่อทุกๆ ด้าน