Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   เส้นทางชีวิตนักบิน: ธุรกิจการบิน ปรับตัวรับสถานการณ์โควิด

ธุรกิจการบิน ปรับตัวรับสถานการณ์โควิด

โดย : กัปตันอำพล ขำวิไล

           ผลกระทบของธุรกิจการบินในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 เผชิญหน้ากับวิกฤตครบรอบ 1 ปี สถานการณ์ในหลายประเทศยังไม่เบาบาง โดยสหรัฐอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งของโลก

            โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี ซึ่งเป็นประเทศที่คนไทยนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวซึ่งสายการบินโลว์คอสมีเที่ยวบินเป็นจำนวนมาก

             การระงับการบินในเส้นทางต่างประเทศ ย่อมส่งผลกระทบต่อบุคลากรในธุรกิจการบิน รายได้ของธุรกิจการบินในภาพรวมของโลก หลายบริษัทต่างหาทางรอดเพื่อประคับประคองสถานการณ์ ให้ถึงวันที่พบวัคซีนป้องกันโควิด-19 สามารถใช้ควบคุมอย่างได้ผล

             ในระหว่างนี้ธุรกิจการบินควรกำหนดแนวทางการปรับตัวให้ผ่านพ้นวิกฤต ไปด้วยดีและกระทบต่อรายได้น้อยที่สุด ดังนี้ (1) การสร้างพันธมิตรทางการบินและฟีดเดอร์ สะท้อนแนวคิดแบบ “รวมกันเรารอด”

            การจัดรายการ ส่งเสริมการขายในหลากหลายรูปแบบเพื่ออำนวยความสะดวกการบริการรถเช่า การเปลี่ยนเส้นทาง สลับไฟลท์การเดินทางระหว่างสายการบิน การตอบสนองความสะดวกสบายของผู้ใช้บริการด้วยการนาเสนอ รูปแบบที่สร้างทางเลือกและมีความยืดหยุ่นสูง เป็นการเพิ่มโอกาสการสร้างรายได้ในช่วงของการเดินทาง ระหว่างประเทศที่ซบเซา

          (2) การปรับรูปแบบการบินพาณิชย์ที่เน้นการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo) ถือว่าเป็นการปรับตัว ที่สอดรับกับสถานการณ์ที่มีการส่งสินค้า ซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ การส่งออก-นาเข้าสินค้า ยังมีความต้องการการค้าการส่งออกในสภาวะที่ไม่สามารถพึ่งพาการบินเพื่อการเดินทางได้

          (3) การคงไว้ซึ่งที่สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้โดยสาร ไม่ว่าจะเป็น ความเข้มข้นในการคัดกรองโรค   ณ ท่าอากาศยาน และลูกเรือ และนักบินในเที่ยวบิน มาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาด การเว้นระยะของที่นั่งโดยสารแบบ มีระยะห่างทางสังคม ทาให้แต่ละเที่ยวไม่สามารถขนส่งผู้โดยสารได้เท่าเดิม

            ดังน้ั้น ในส่วนนี้ หากภาครัฐสามารถสนับสนุนเงินช่วยเหลือผ่านนโยบายทางการเงินหรือมาตรการช่วยเหลืออื่นๆที่จะช่วยลดภาระของบริษัทการบิน และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จากทั่วโลก พบว่าสถานการณ์เป็นไปในทิศทางบวก

             จากผลการทดลองวัคซีนทั้ง 2 ชนิด พบว่าความเป็นไปได้ที่จุดจบของการแพร่ระบาดโควิด-19 จะอยู่ในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปี 2564 มาตรการป้องกันพร้อมให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดต่อด่านควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานต่างๆทั่วโลก รวมถึง องค์กรอนามัยโลก ที่สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้โดยสาร ไม่ว่าจะเป็นความเข้มข้นในการคัดกรองโรค ณ ท่าอากาศยาน และลูกเรือและนักบินในเที่ยวบิน

            มาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาด การเว้นระยะของที่นั่งโดยสารแบบ มีระยะห่างทางสังคม ทาให้แต่ละเที่ยวไม่สามารถขนส่งผู้โดยสารได้เท่าเดิม ดังน้ัน ในส่วนนี้หากภาครัฐสามารถสนับสนุนเงินช่วยเหลือผ่านนโยบายทางการเงินหรือมาตรการช่วยเหลืออื่น ๆ ที่จะช่วยลดภาระของบริษัทการบิน

            (4) กรณีที่การระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่กลับมา หากจะต้องมีการดาเนินนโยบายด้านสาธารณสุข โดยการประกาศล็อกดาวน์และปิดน่านฟ้า ย่อมส่งผลให้ธุรกิจสายการบินต้องเข้าสู่ยุคมืดอีกครั้ง บริษัทใด หากไม่เห็นสถานะที่จะกลับมาฟื้นตัวก็คงต้องปิดกิจการ ซึ่งการประคองสถานะของสายการบินให้ไปต่อได้นั้น อาจจะต้องหามาตรการที่เรียกว่าเป็น “ยาแรง” มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการสมัครใจจาก คืนเครื่องบิน ลดเงินเดือน และสวัสดิการ หรือ การให้พนักงานลาแบบไม่รับค่าจ้าง

             นอกจากนี้ยังมีมาตรการด้านลดการจ้างงาน ในส่วนของบุคลากรเป็นแนวทางที่หลายสายการบินที่ประสบปัญหาเลือกใช้เพื่อการฟื้นฟูกิจการจะเห็นว่าสิ่งที่ธุรกิจสายการบินจะต้องประคับประคอง คือ รายได้จากค่าโดยสารที่หายไป เป็นจานวนมหาศาล ต้องอาศัยการดาเนินนโยบายอย่างรอบคอบ เน้นความร่วมมือกับภาคขนส่งรูปแบบอื่น ๆ

             การปรับกลยุทธ์เพื่อให้สอดรับกับความต้องการบริการขนส่งสินค้าภายใต้วิกฤตเช่นนี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ ของบุคลากรในธุรกิจการบิน ที่พร้อมจะปรับรูปแบบเพื่ออำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าทางอากาศ และโลจิสติกส์ จะผลักดันให้เศรษฐกิจทั้งของไทยและทั่วโลก ขับเคลื่อนผ่านความยากลำบาก ไปด้วยกัน

               ผมหวังว่าท้องฟ้าจะกลับมาครึกครื้นอีกครั้ง สู้ๆครับ