Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   9 ปีไอแบงก์ ชูขึ้นชั้น1ใน3 Retail Banking ภูมิภาคเอเชีย

9 ปีไอแบงก์ ชูขึ้นชั้น1ใน3 Retail Banking ภูมิภาคเอเชีย

                สำนักข่าวอะลามี่ : ไอแบงก์โชว์วิสัยทัศน์ผู้บริหาร หลังดำเนินการมาครบ 9 ปี “ธีรศักดิ์”เผยไม่กังวลแม้ว่าจะลุกจากเก้าอี้ไปแล้ว เนื่องจากได้วางระบบและยุทธศาสตร์อย่างเข้มแข็ง พร้อมชูไอแบงก์สู่ความเป็นเลิศ 1 ใน 3 ด้าน Retail Banking ของภูมิภาคเอเชีย

               นายธีรศักดิ์  สุวรรณยศ ผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ ไอแบงก์  กล่าวในเวที การเสนา ครบรอบ 9 ปีงาน “ไอแบงก์ 9 ปี ก้าวเปลี่ยน…เพื่อคุณ”  เพื่อฉลองครบรอบ 9 ปี ในการเปิดดำเนินกิจการธนาคารอิสลาม ว่า  ตนอยู่ในแวดวงการเงินในระบบบดอกเบี้ย มานานพอสมควร หลังจากนั้นมาศึกษาระบบธนาคารอิสลาม  โดยระบบธนาคารอิสลาม จะเน้นความเป็นธรรม ทุนนิยมอิสลามการบริโภคไม่เป็นโทษกับตัวเองและสังคม จึงเข้ามาศึกษา แต่ค่อนข้างยากเพราะไม่เกี่ยวกับระบบดอกเบี้ย

               “ ระบบธนาคารอิสลามเป็นไปตามบัญญัติของพระเจ้า พระเจ้าอนุมัติให้การค้า แต่ไม่อนุญาตในเรื่องดอกเบี้ย"

               นายธีรศักดิ์  กล่าวอีกว่า ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เราได้ร่วมกันสร้างสถาบันการเงินตามหลักความเชื่อ  เพราะ ไอแบงก์ เกิดขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องการใช้บริการด้านการเงิน ตามหลักการอิสลาม

              โดย ที่ผ่านมาระบบธนาคาอิสลามจะมีการบริหารใกล้เคียงระบบดอกเบี้ย จึงทำให้ถูกตั้งคำถามมากมาย  ซึ่งเราต้องอธิบาย ทำให้ไอแบงก์ได้รับการยอมรับและมีพนักงานหลากหลาย ไม่เฉพาะมุสลิมเท่านั้น

              “เรามีเป้าหมายสู่ความเป็นเลิศ 1 ใน 3 ด้าน Retail Banking ของภูมิภาคเอเชีย ภายใต้ภาพลักษณ์ความเป็นธนาคารคุณธรรม เพื่อลูกค้าทุกคนทุกศาสนา  ซึ่งมั่นใจได้ว่า ไม่ว่าใครจะมาบริหารงานธนาคารอิสลามฯต่อจากผม  ไอแบงก์ ก็จะยังคงยืนหยัดอยู่ได้ ด้วยแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีที่เราวางไว้ โดย มุ่งสู่ความเป็นมืออาชีพ และเติบโตอย่างมั่นคง” นายธีรศักดิ์กล่าว

              ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานบริหารความเสี่ยง กลุ่มงานยุทธศาสตร์องค์กร กล่าวในเวทีเดียวกันว่า ในอดีตธนาคารอิสลามฯ ผลการดำเนินการขาดทุนสะสม หลังจากที่ได้เปลี่ยนจากระบบสู่การคอมพิวเตอร์ ทำให้การทำงานมีระบบและสู่ความเป็นอินเตอร์มากขึ้น นำไปสู่การขยายฐานลูกค้าปลี่ยนจากโครงสร้างนาฬิกาทราย มาเป็นฐานลูกค้าแบบปิระมิดมากขึ้น

               ทั้งนี้ ธนาคารได้วางแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ ประกอบด้วย  การให้บริการลูกค้าด้วยหัวใจและใกล้ชิดกับลูกค้า  การคืนคุณค่าสู่สังคม ความเป็นเลิศด้านผลิตภัณฑ์ตามหลักชะรีอะฮ์   การบริหารทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาระบบงานให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย  การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการภายใต้กฎเกณฑ์ของทางการ  และมุ่งเน้นการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในอาชีพ

                “ การบริหารความเสี่ยง พบว่าเราติดอันดับ1ใน5 ของรัฐวิสาหกิจชั้นนำ แต่สิ่งที่ทำให้เรามีความเสี่ยงน้อย เพราะเรานำ ระบบชารีอะห์ นำกรอบศาสนา มาคุ้มครองและกำกับความเสี่ยง นี่คือหัวใจสำคัญ”

               นางอุไรวรรณ มณีโชติ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารสายงานธุรกิจรายย่อย รับผิดชอบกลุ่มงานธุรกิจสาขา กลุ่มงานบริหารช่องทางการบริการ กล่าวว่า ที่ผ่านมาไอแบงก์ได้พยายามปรับโครงสร้างลูกค้า จากรายใหญ่มาเจาะตลาดรายย่อย ซึ่งนับเป็นเรื่องยากมาก จึงจำเป็นต้องมีระบบที่ดีมารองรับ และ การบริการที่ดี ต้องพัฒนาให้สมกับนโยบายและสโลแกนที่ว่า “ อุ่นใจ เมื่อใช้ไอแบงก์”

               “ในส่วนความพร้อมด้านสาขา ณ สินเดือนมิถุนายน 2555 ไอแบงก์มีสาขา 104 สาขา และจะเพิ่มเป็น 130 สาขาทั่วประเทศ  ภายในปี 2555  นอกจากนี้ ธนาคารยังมีโครงการ  iBank Family Member ( iFM)  ที่เป็นการตลาดแบบเครือข่ายในการบอกต่อ  ซึ่งเป็นนวัตกรรมการตลาดรูปแบบใหม่ครั้งแรกในวงการธนาคาร  ซึ่งเป็นการขยายฐานลูกค้าและเจาะกลุ่มลูกค้ารายย่อย อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนของธนาคารในการขยายสาขาอีกด้วย  “ นางอุไรวรรณ กล่าว

               ด้าน ดร.ครรชิต สิงห์สุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานุรกิจขนาดใหญ่ และ SMEs กล่าวว่า ธนาคารได้จำแนกกลุ่มลูกค้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มลูกค้ารายใหญ่ กลุ่มลูกค้า SMEs และกลุ่มรายย่อย (Retail)โดยในส่วนของลูกค้ารายใหญ่นั้น ธนาคารจะมุ่งเน้นการให้บริการลูกค้าอย่างครบวงจร ด้วยการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ให้คำแนะนำในการผสมผสานผลิตภัณฑ์ตลาดเงินควบคู่กับผลิตภัณฑ์ตลาดทุน 

                ขณะที่กลุ่มลูกค้า SMEs ธนาดารมีนโยบายมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพ มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจโดยกระจายฐานลูกค้าไปในหลายกลุ่มธุรกิจ   เช่น ธุรกิจก่อสร้าง  ธุรกิจการผลิต ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ เป็นต้น 

               “ ในส่วนของธุรกิจเอสเอ็มอี เราตั้งเปสปล่อยสินเชื่อไว้ 3หมื่นล้านบาท คาดปลายปีนี้ จะสามารถเบิกจ่ายตัวเลขแตะอยู่ที่  2.7หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าในกลุ่มธุรกิจฮาลาลฟู๊ด และซับพรายเชน” ดร.ครรชิต กล่าว