Life style
Home   /   Life style  /   'รติยา วงศ์เสงี่ยม'สู่ยังดีไซน์เนอร์มุสลิม

“รติยา วงศ์เสงี่ยม”สู่ยังดีไซน์เนอร์มุสลิม

โดย วรัญญา พุ่มเพ็ชร

                  สำนักข่าวอะลามี่ : เด็กสาวที่เติบโตจากย่านมหานาคสภาพแวดล้อมติดกับตลาดค้าส่งและค้าปลีกเสื้อผ้าใหญ่อันดับต้นๆของกรุงเทพที่ทุกคนรู้จักกันคือ” ตลาดโบเบ้” ได้สั่งสมให้เธอคิดอยากจะเป็นนักธุรกิจตั้งแต่วัยเด็ก



                 ด้วยความฝันที่อยากเป็นนักธุรกิจ เธอจึงศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระนคร ในคณะบริหารธุรกิจ สาขาการบริหารจัดการ

                  “รติยา วงศ์เสงี่ยม” หรือ น้องฮูดา เด็กสาวที่กล้าคิดฝันไกลเกินตัว เปิดร้านขายเสือผ้าแฟร์ชั่นมุสลิม ในซอยกรุงแมน หรือ ที่ทุกคนรู้จักซอยมหานาค ย่านถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ 

                 “ หนูเกิดและโตมาในย่านมหานาคสมัยเด็กวิ่งเล่นอยู่ในร้านหนังสือ(ส.วงศ์เสงี่ยม)ด้วยความที่สัมผัสและซึมซับเรื่องเสื้อผ้าจากชุมชนโบ้เบ้หลังจากเรียนจบจึงเริ่มค้าขายเสื้อผ้าด้วยการซื้อมาขายไปบ้างก็ขายส่งด้วย”

                  เนื่องจากชอบในเรื่องแฟชั่นเสื้อผ้าเป็นทุนเดิมและอยากต่อยอดจากธุรกิจจึงได้เข้าฝึกอบรม”โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิม”ซึ่งสนับสนุนโดยกรมอุตสาหกรรมสิ่งทอเมื่อ3ปีที่ผ่านมา

                  เธอบอกว่า การเข้าฝึกอบรมทำให้เรารู้จักพื้นฐานของการดีไซน์ ทำให้รู้ว่าเสื้อผ้ามีกี่ประเภท สามารถต่อยอดแนวคิดการออกแบบเสื้อผ้าได้

                  ต่อมาเธอเข้าฝึกอบรมอีกครั้งเมื่อปี2555และได้ส่งผลงานเข้าประกวดจนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทชุดทำงาน จากผลงานการส่งเข้าประกวด 50 คน

                 ฮูดา บอกว่า เสื้อผ้าในตลาดแบบเริ่มซ้ำๆจึงคิดอยากหาอะไรที่แตกต่างจึงเริ่มออกแบบดีไซน์เสื้อผ้าเองโดยให้ช่างตัดเย็บ ซึ่งเสื้อผ้าในร้านประมาณ50%ล้วนผ่านการออกแบบจากฝีมือเธอเอง

                  “สำหรับชุดแฟชั่นในร้านจะเน้นลูกค้าวัยกลางคน และผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังขายส่งให้กับร้านค้าต่างๆที่จะมารับสินค้าเราไปขายต่ออีกด้วย “

                   ฮูดา บอกว่า นอกจากนี้เธอยังได้ออกแบบเสื้อผ้าซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างออกดีไซน์และการตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าวัยรุ่นแฟชั่นมุสลิม สไตล์ยุโรป ผู้หญิงทำงาน โดยจะออกเป็นคอเล็คชั่นใหม่ราวกลางปีนี้  ซึ่งตลาดกลุ่มนี้จะเป็นคนละกลุ่มกับตลาดเดิม จะขายผ่านเวปไซด์ HUDASHOP.COM และผ่านโซเชียลมีเดีย หรือเฟสบุ๊ค

                ปัจจุบันเทรนด์การแต่งตัวของผู้หญิงมุสลิมเริ่มกล้าที่จะแต่งตัวกันมากขึ้น แต่ยังหาซื้อเสื้อผ้าที่เหมาะสม หรืออยู่ในกรอบหลักการศาสนาน้อยมาก จึงคิดว่า น่าจะเป็นดีไซน์อีกทางเลือก ที่จะรองรับเทรนด์การแต่งตัวของผู้หญิงมุสลิมสมัยใหม่มากขึ้น

               เธอมองว่าปัจุจบันดีไซเนอร์มุสลิมยังมีไม่เพียงพอ และยังขาดกระบวนการในการทำงาน ไม่มีทีมงานหรืออาจไม่มีทุน จึงอยากให้ทำงานตามความเหมาะสมและความสามารถที่มีอยู่ เราก็จะประสบความสำเร็จได้ในที่สุด

 

หมายเหตุ :ตีพิมพ์ครั้งแรก ในนิตยสาร ดิ อะลามี่ ฉบับกุมภาพันธ์ 2556