The Alami Report
Home   /   The Alami Report  /   เล่าเท่าที่รู้ : โดย เอกราช มูเก็ม

เล่าเท่าที่รู้ โดย เอกราช มูเก็ม

อับดุลเราะห์มาน ซิวาร์ อัล-ดาบ อดีตประธานาธิบดีซูดาน
นักปฎัติผู้รับฉายา...สิงห์โตแห่งทุ่งแอฟริกา ตัวจริง

 

            เมื่อปี 2011 ได้มีโอกาสพบและคุยกับ อดีตผู้นำและผู้มีชื่อเสียงด้านการปฎิวัติแห่งซูดาน เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่า แต่อยากเขียนและย้อนความทรงจำกับเรื่องดีๆที่มีโอกาสครั้งหนึ่งได้พบและได้คุยกับผู้มากประสบการณ์   

            ท่านผู้นี้คือ “อับดุลเราะห์มาน ซิวาร์ อัล-ดาบ” อดีตประธานาธิบดีแห่งซูดาน

            แม้ท่านจะอยู่ในตำแหน่งเพียง 1ปี หลังจากปฎิวัติประเทศ แต่หากจะเอ่ยถึงผู้นำในแถบประเทศตะวันออกกลาง ชื่อของ จอมพล อับดุลเราะห์มาน ซิวาร์ อัล-ดาบ ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร อันเนื่องจากเขาได้รับการยอมรับจากผู้นำประเทศมุสลิมในตะวันออกกลางในระดับแถวหน้า แม้ว่าวันนี้เขาจะลงจากเก้าอี้แล้วก็ตาม                

            "อับดุลเราะห์มาน ซิวาร์ อัล-ดาบ " ยังได้รับการยอมรับและสื่อท้องถิ่นให้ฉายาว่า " บิดาแห่งซูดาน" เพราะบทบาทของเขา ทั้งในกองทัพและในตำแหน่งประธานาธิบดี และด้วยบริบทส่วนตัวที่มีคุณพ่อเป็นนักการศาสนาคนสำคัญ ทำให้เขาเป้นที่ยอมรับและเป็นที่รักของคนซูดาน              

             จอมพล อับดุลเราะห์มาน ซิวาร์ อัล-ดาบ (Abdulrahman Siwar Al-Dhab) อดีตประธานาธิบดีซูดาน กล่าวกับผม ในขณะที่เดินทางเยือนประเทศไทย (6,2011) โดยแสดงความยินดีที่มีโอกาสมาเยือนประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง หลังจากครั้งเดินทางมาครั้งแรกเมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยพบกับผู้นำของประเทศไทยหลายท่าน                

            สำหรับการเดินทางมาครั้งนี้ เขามาตามคำเชิญของมูลนิธิเพื่อการศึกษาและสงเคราะห์ชุมชน ซึ่งเป็นมูลนิธิฯที่ส่งเสริมเรื่องการศึกษา โดยบอกว่า แม้ว่าตนจะอายุมากแล้ว แต่เมื่อเป็นเรื่องการศึกษาก็พร้อมจะมาให้การสนับสนุน เนื่องจากมองว่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของไทย ยังมีมุสลิมจำนวนมากที่ยังขาดโอกาสทางการศึกษา              

            อดีตประธานาธิบดีซูดาน ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์ความขัดแย้งในซูดาน ว่า ในอดีตซูดาน เป็นประเทศที่มีเอกราช จนกระทั่งถูกอังกฤษเข้ายึดครองตั้งแต่ ปี 1889  ก่อนจะมีอธิปไตยเป็นของตนเองอีกครั้งในปี1956                      

            กระนั้นสถานการณ์ในซูดานยังมีความขัดแย้งตามมาอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องจากปัญหาหลักๆคือ ความขัดแย้งของกลุ่มเกษตรกรกับผู้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งในอดีตการแก้ปัญหาเป็นไปอย่างง่ายดาย เพราะเป็นเรื่องของชนเผ่า ซึ่งสามารถเจรจาให้ยุติได้                      

            “ ปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งในซูดาน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องปัญหาภาคใต้ ซึ่งปัญหานี้เกิดนานแล้วก่อนที่ประเทศซูดาน จะเป็นประเทศเอกราช โดยผู้สร้างปัญหานี้ คือ ประเทศอังกฤษ โดยช่วงนั้นประเทศอังกฤษเชื่อว่า ภาคใต้ของซูดาน มีชนเผ่าพื้นเมืองที่ไม่ได้ผสมกับชนเผ่าอาหรับ เป็นเชื้อชาติอเมริกัน ซึ่งนับถือศาสนาอื่นๆ “

             จอมพล อับดุลเราะห์มาน บอกว่า ก่อนหน้านี้อังกฤษได้ตั้งกฎหมายว่าโดยพยายามปิดพื้นที่ดังกล่าวไม่ให้มุสลิมกับกลุ่มอาหรับ มาจากภาคเหนือของซูดานลงไปในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้หากจะเข้าพื้นที่ภาคใต้ต้องมีใบอนุญาต ขณะเดียวกันรัฐบาลอังกฤษขณะนั้น ก็พยายามปลุกระดมและสร้างความเกลียดชังแก่กลุ่มมุสลิมและชาวอาหรับ จนเกิดความขัดแย้งกันมาจนถึงทุกวันนี้

            เขาบอกว่า ความขัดแย้งเริ่มรุนแรงในซูดาน เกิดขึ้นตั้งแต่ปี1955 ก่อนที่จะประเทศซูดาน จะได้รับเอกราช โดยในภาคใต้ของซูดาน พยายามมีการประท้วงในการปฏิวัติที่จะแยกตัวออกจากซูดาน แต่ในสมัยนั้นทหารไม่ยอมก่อนจะมีการใช้มาตรการปราบปราบทำให้มีการต่อสู้กันมีการรบกันมาตั้งแต่บัดนั้น ซึ่งบางครั้งก็มีการหยุดรบกันชั่วคราว ก่อนจะมีการเจรจากันเมื่อปี 2005    
                   

            อย่างไรก็ตามหลังจากเจรจากันนานได้ยุติความขัดแย้ง จนนำไปสู่การร่างสัญญาสันติภาพ ร่วมกัน ในประเทศไนจีเนีย ซึ่งในสัญญาดังกล่าว ระบุว่า ประชาชนอยู่ในภาคใต้ของซูดาน จะมีสิทธิ์ที่จะลงประชามติ เพื่อเลือกเอาว่าจะแยกตัวออกจากซูดานหรือจะอยู่รวมกันกับประเทศซูดานต่อไป                      

            ทั้งนี้ตามสัญญาสันติภาพได้ระบุไว้ว่าจะต้องมีการเลือกตั้งทั่วประเทศซูดาน ซึ่งการเลือกตั้งเพิ่งเกิดขึ้น ซึ่งในเร็วๆนี้รัฐบาลจะประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ โดยหลังจากการเลือกตั้งผู้ที่จะมาบริหารประเทศหรือรัฐบาลจะต้องจัดการทำประชามติในภาคใต้ เพื่อให้เขาตัดสินใจว่าจะ อยู่ประเทศเอกราชหรือว่าจะรวมกับซูดาน               จอมพล อับดุลเราะห์มาน ยังให้ความเห็นในฐานะที่เขาเคยเป็นทหารระดับสูงและเป็นอดีตประธานธิบดี ถึงที่ประเทศมหาอำนาจระบุว่า ซูดาน เป็นแหล่งกบดานของกลุ่มก่อการร้ายอัล-กออีดะห์ ว่า เขาไม่เชื่อว่า ซูดานจะเป็นแหล่งซ่องสุมของกลุ่มก่อการร้าย เพราะที่ผ่านมา รัฐบาลซูดานกับนานาชาติก็ให้ความร่วมมือในการต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายมาตลอด                       

            " ผมมองว่าความขัดแย้งในตะวันออกกลางส่วนใหญ่จะเกิดจากความขัดแย้งจากชนเผ่า และบนพื้นฐานของความแตกต่างทางนิกาย ซึ่งภาพลักษณ์เหล่านี้กำลังแก้ไข และปัจจุบันมีความพยายามเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งดังกล่าว"

             จอมพลอับดุลเราะห์มาน ได้เล่าถึงประสบการณ์หลังการปฎิวัติ ซึ่งถือเป็นความลับสุดยอดหลังการปฎิวัติ โดยบอกว่า หลังจากเขาทำการปฎิวัติเรียบร้อย ได้เรียกเจ้าหน้าที่ระดับสูงทุกกระทรวงมาพบพร้อมสอบถามถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งทราบว่า มีน้ำมันสำรองประมาณ 3-4วัน ขณะที่เงินในกองคลังแทบไม่มีเหลือ ส่วนอาหารและข้าวก็ไม่มีเพียงพอให้กับประชาชน                       

            "ผมกลับไปบ้านนอนไม่หลับ ครุ่นคิดทั้งคืนจะทำอย่างไร ทำไมประเทศจึงยากจนขนาดนี้ หลังตื่นนอนตอนเช้าตรู่ ละหมาดเช้าเสร็จ เจ้าหน้าที่บอกว่า ฑูตซาอุดิอารเบีย เข้าพบ และมีสารของกษัตริย์อับดุลเลาะห์ แห่งซาอุดิอารเบีย แสดงความยินดีและพร้อมให้การช่วยเหลือโดยแนบเบอร์โทรติดต่อโดยตรงมาให้ด้วย "

            จอมพลอับดุลเราะห์มาน เล่าให้ฟังก่อนจะบอกว่า....จากนั้น เขาก็ยกหูโทรศัพท์ไปพูดด้วยเล่าสถานการณ์ในประเทศให้ฟัง ก่อนกษัตริย์อับดุลเลาะห์ แห่งซาอุดิอาระเบีย จะให้เข้าพบ

            กระนั้นท่านได้กล่าวแบบอารมณ์ขัน พร้อมกับหัวเราะ เมื่อเล่าถึงเรื่องในอดีตว่า ....เขาบอกว่า รัฐบาลที่เขาปฎิวัติเสร็จ ในวันนั้น ไม่มีแม้แต่น้ำมันเติมเครื่องบิน และด้วยเหตุนี้ กษัตริย์อับดุลเลาะห์ ท่านส่งเครื่องบินมารับ หลังเข้าพบและกลับภายในวันนั้น กษัตริย์อับดุลเลาะห์ แห่งซาอุดิอารเบีย ก็ส่งเงินตามหลังมาในวันเดียวกัน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ จากนั้น น้ำมัน ก็ตามมา ข้าวสาลี ก็ตามมา ทำให้ซูดาน เริ่มฟื้นขึ้นจนนำมาสู่ ซูดานทุกวันนี้

            คนใกล้ชิดจอมพลอับดุลเราะห์มาน เล่าว่า ด้วยความเป็นนายทหารที่มีความซื้อสัตย์ และจริงใจ ทำให้กษัตริย์อับดุลเลาะห์ แห่งซาอุดิอารเบีย รักท่านมาก ด้วยเป็นจริงทำให้คนซูดานรักท่านมาก จนได้รับการยอม จนได้รับสมญานาม ให้ท่าน จอมพลอับดุลเราะห์มาน คือ สิงห์โตแห่งแอฟริกา..ตัวจริง ที่ผู้นำในกลุ่มประเทศแอฟริกาและประเทศตะวันออกกลาง ยอมรับมากที่สุดคนหนึ่ง