The Alami Report
Home   /   The Alami Report  /   บทความพิเศษ: ฟัตฮุลลอฮฺ กูเลน นักวิชาการศาสนาอิสลามชาวตุรกี

มุสลิมจำเป็นต้องทบทวนความเข้าใจต่อศาสนาอิสลามอย่างรอบคอบ

 โดย ฟัตฮุลลอฮฺ กูเลน นักวิชาการของศาสนาอิสลามชาวตุรกี 

          ไม่มีคำใดที่จะสามารถกล่าวถึงความเสียใจอย่างสุดซึ้งของผมได้และการต่อต้านการเข่นฆ่าอย่างโหดร้ายซึ่งกระทำการโดยกลุ่มก่อการร้ายที่รู้จักกันในนามของรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL)

          ผมจะขอแบ่งปันความคับข้องใจอย่างลึกซึ้งต่อมุสลิมจำนวนกว่าพันห้าร้อยคนทั่วโลกถึงเหตุการณ์ที่กลุ่มก่อการร้ายได้ก่อให้เกิดขึ้นโดยอ้างอุดมการณ์ที่หลงผิดของพวกเขาว่าเป็นศาสนา เรามุสลิมมีภารกิจที่พิเศษไม่เพียงแค่สร้างความร่วมมือระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกันในการป้องกันโลกของเราจากหายนะจากการก่อการร้ายและความรุนแรงที่สุดโต่งแต่เรายังต้องช่วยแก้ไขภาพลักษณ์ที่เสื่อมเสียของศาสนาของเราด้วย

          ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายนักในการที่จะแสดงอัตลักษณ์ของตนเองในรูปแบบนามธรรมด้วยคำพูดและสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นเพียงภาพลักษณ์ภายนอกเท่านั้นแท้จริงแล้วความเชื่อที่ถูกต้องไม่ได้อยู่ที่การแต่งตัวหรือสัญลักษณ์ต่างๆ แต่ความเชื่อที่ถูกต้องคือการให้ความสำคัญต่อทุกศาสนาทั่วโลกและใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติตลอดจนเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ร่วมกันทุกหมู่เหล่า

          เราต้องขอประณามอุดมการณ์ที่ได้รับการเผยแพร่โดยผู้ก่อการร้ายและขอส่งเสริมความเชื่อของทุกฝ่ายด้วยความชัดเจนของความเชื่อมั่น ไม่ว่าเราจะมีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ เชื้อชาติ หรือศาสนาใด มนุษยธรรมที่เรามีร่วมกันอาจจะเสื่อมถอยไปได้จากการกระทำอันป่าเถื่อนอย่างที่ชาวฝรั่งเศสสูญเสียชีวิต จากเหตุการณ์ในกรุงปารีส รวมถึงชาวเลบานอน ที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ ที่เสียชีวิตในกรุงเบรุต ตลอดจนชาวอิรัก ที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีย์ ซึ่งได้เสียชีวิตจากน้ำมือของผู้ก่อการร้ายดังกล่าว

          อารยธรรมของเราจะไม่มีการก้าวไปข้างหน้า หากเราไม่มีการดูแลทุกข์สุขร่วมกัน ซึ่งไม่ว่าจะต่างอัตลักษณ์ทางศาสนาหรือชาติพันธุ์ใด เราต้องเข้าใจความรู้สึกของกันและกันด้วยความเท่าเทียม

          ชาวมุสลิมต้องปฏิเสธ และหลีกเลี่ยงทฤษฎีแนวความคิดดังกล่าว ไม่เพียงแค่การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า แต่เราจะต้องร่วมกันแก้ปัญหาภายในชุมชนโดยการไม่ยอมรับลัทธิอำนาจนั้นตลอดจนไม่ให้การสนับสนุนการกระทำรุนแรงโดยการทารุณกรรม ส่วนการเพิกเฉยต่อเยาวชนหรือการไม่สนับสนุน

           การศึกษารวมถึงความผิดพลาดในการจัดหาสิทธิและเสรีภาพหลักนิติธรรมแก่ทุกคนและความผิดพลาดในการยอมรับความเชื่อที่หลากหลายในชุมชนของเราเป็นต้นเหตุและนำทางให้แก่ผู้ที่กำลังหาทางเลือกใหม่ให้พวกเขาเองหรือไม่ ?

           โศกนาฏกรรมครั้งล่าสุดในกรุงปารีส ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจต่อนักเทววิทยาและชาวมุสลิมธรรมดาทั่วโลกให้ปฏิเสธและประณามการกระทำที่ป่าเถื่อนที่เกิดขึ้นภายใต้ชื่อของศาสนา

         อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้ การปฏิเสธและการประณามคงไม่เพียงพอ การสรรหาผู้ก่อการร้ายภายในสังคมมุสลิมควรจะได้รับการขัดขวางและต่อสู้จากการร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพของ ฝ่ายบริหารของรัฐ ผู้นำทางศาสนาและประชาสังคม เราจะต้องพยายามช่วยเหลือกันเพื่อที่จะระบุถึงปัจจัยต่างๆ ที่คอยสนับสนุนการสรรหาผู้ก่อการร้าย

           วิธีการในการสนับสนุนและแสดงความไม่เห็นด้วยในรูปแบบที่เป็นประชาธิปไตย

            เราจำเป็นต้องทำงานกับชุมชนเพื่อที่จะสร้างกรอบความคิดที่จำเป็นสำหรับการระบุหาเยาวชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันพวกเขาออกจากการหาเส้นทางที่ทำร้ายตัวเอง เพื่อช่วยเหลือครอบครัวในการให้คำปรึกษาและการให้บริการการช่วยเหลืออื่นๆ เราจะต้องส่งเสริมข้อตกลงของรัฐบาลที่เป็นเชิงรุกและเป็นเชิงบวกเพื่อที่มุสลิมที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถมาพบปะพูดคุยกันเรื่องมาตรการการปราบปรามการก่อการร้ายที่ถูกวางแผนขึ้นและจะได้แบ่งปันข้อคิดเห็นต่างๆ

            เยาวชนของเราจะได้รับการสั่งสอนเรื่องวิธีการในการสนับสนุนและการแสดงความไม่เห็นด้วยในรูปแบบที่เป็นประชาธิปไตยโดยการรวมคุณค่าของประชาธิปไตยไว้ในหลักสูตรของโรงเรียนตั้งแต่แรกเริ่มซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญในการสั่งสอนวัฒนธรรมของประชาธิปไตยในจิตใจของเยาวชนเหล่านั้น

            จากผลกระทบของโศกนาฏกรรมดังกล่าว การโต้กลับอย่างรุนแรงจึงได้ปรากฏขึ้น ความรู้สึกของการต่อต้านมุสลิมและต่อต้านศาสนาเกิดขึ้นรวมถึงการปฏิบัติเรื่องความปลอดภัยของมุสลิมโดยรัฐบาลอาจจะได้รับผลกระทบตรงข้ามกับที่ตั้งใจเอาไว้ ประชาชนมุสลิมในทวีปยุโรปต้องการอยู่อย่างสงบสุข และสันติ ถึงแม้จะมีเหตุการณ์ที่ไม่สู้ดีนัก พวกเขาควรพยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์กับคนในท้องถิ่นและรัฐบาลมากขึ้นเพื่อช่วยหานโยบายที่ครอบคลุมในวงกว้างที่ช่วยผสมผสานชุมชนของเขาให้ดีขึ้นกับสังคมในวงกว้าง

        มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่เรามุสลิมจำเป็นต้องทบทวนความเข้าใจต่อศาสนาอิสลามอย่างรอบคอบและปฏิบัติตนตามเงื่อนไขของศาสนาอิสลามและข้อบังคับในยุคสมัยของเราและความเข้าใจได้รับการตระเตรียมจากประสบการณ์ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ นี่ไม่ใช่การแตกแยกออกจากประเพณีวัฒนธรรมอิสลามที่สั่งสมกันมาแต่เป็นการตั้งคำถามอย่างชาญฉลาดเพื่อที่เราจะสามารถแน่ใจในหลักคำสอนที่แท้จริงของคัมภีร์อัลกุรอาน และประเพณีวัฒนธรรมของศาสดาที่บรรพบุรุษชาวมุสลิมของเราพยายามที่จะเปิดเผยออกมา

            เราจำเป็นต้องออกห่างจากข้อมูลที่ไม่ได้ยึดตามหลักความจริงของแหล่งข้อมูลทางศาสนาของเราที่ถูกนำมาใช้จากอุดมการณ์ที่หลงผิด นักคิดชาวมุสลิมและปัญญาชน ควรจะกระตุ้นแนวทางการศึกษาที่เป็นองค์รวมและพิจารณาคำพิพากษาทางกฎหมายในยุคกลางอีกครั้งหนึ่งที่ซึ่งได้เกิดจากความขัดแย้งที่ไม่สิ้นสุดที่ข้อผูกพันทางศาสนาจะเกิดขึ้นพร้อมกันกับข้อผูกพันทางการเมืองอยู่เสมอ

           การยึดหลักความศรัทธานั้น ควรจะต้องมีความแตกต่างจากการคิดว่าความคิดเห็นของตนเองถูกต้อง มันเป็นไปได้และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะฟื้นฟูความรู้สึกแห่งเสรีภาพในการคิดที่ก่อให้เกิดยุคฟื้นฟูใหม่ของศาสนาอิสลามในขณะที่ยังคงไว้ซึ่งลักษณะทางสังคมของศาสนานั้น ในสภาพแวดล้อมเช่นนั้นเท่านั้นที่จะสามารถทำให้มุสลิมต่อสู้กับพฤติกรรมที่หยาบคายและความรุนแรงอย่างสุดโต่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

             ผลกระทบของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และด้วยความรำคาญใจนี้ ผมได้เห็นถึงการกลับคืนมาของปัญหาของความขัดแย้งระหว่างอารยธรรม ผมไม่ทราบว่าผู้ที่ตั้งสมมุติฐานนั้นสร้างมันขึ้นมาจากวิสัยทัศน์หรือความปรารถนา

            สิ่งที่มั่นใจได้คือในวันนี้ การกลับคืนมาของการใช้ถ้อยคำชักจูงโน้มน้าวช่วยเป็นส่วนส่งเสริมความพยายามในการสรรหาของเครือข่ายผู้ก่อการร้าย ผมอยากจะกล่าวอย่างชัดเจนว่าสิ่งที่เราได้เป็นพยานนั้นไม่ใช่ความขัดแย้งทางอารยธรรม แต่เป็นความขัดแย้งของมนุษยธรรมด้วยความโหดเหี้ยมในอารยธรรมที่เราอยู่ร่วมกัน

           หน้าที่ของเราในฐานะของประชาชนมุสลิมคือ การเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาถึงแม้ว่าเราจะมีความคับข้องใจก็ตาม หากเราต้องการที่จะปกป้องชีวิตและเสรีภาพของพลเมืองชาวมุสลิมทั่วโลกรวมถึงความสงบสุขและความสันติของมนุษย์ทุกหมู่เหล่าโดยไม่คำนึงถึงศาสนาของพวกเขาแล้วนั้น เราจะต้องปฏิบัติในเวลานี้เพื่อที่จะแก้ปัญหาคตินิยมสุดโต่งในทุกๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางสังคมและทางศาสนา โดยการสร้างตัวอย่างที่ยึดหลักศีลธรรมผ่านทางชีวิตของเรา โดยทำลายและออกห่างจากการตีความที่มีความคิดสุดโต่งจากแหล่งข้อมูลทางศาสนาต่างๆโดยการคอยระแวดระวังเยาวชนของเราและโดยการรวมคุณค่าของประชาธิปไตยเอาไว้ในการศึกษาแล้วเราจะสามารถต่อสู้กับความรุนแรงและการก่อการร้ายรวมถึงแนวความคิดเผด็จการที่นำไปสู่ปัญหาเหล่านั้นได้

 +++++++++

หมายเหตุ : ตีพิมพ์ครั้งแรก หนังสือพิมพ์  Le Monde   ประเทศฝรั่งเศส  ฉบับวันที่ 17 ธันวาคม 255

                 ท่านฟัตฮุลลอฮฺ กูเลน เป็นนักวิชาการชาวมุสลิมเชื้อสายตุรกี และ ท่านยังเป็นนักคิด นักประพันธ์ กวี ผู้นำทางความคิดและนักปฏิรูปการศึกษาที่สนับสนุนการสานเสวนาระหว่างศาสนาและวัฒนธรรม ตลอดจนวิทยาศาสตร์ ประชาธิปไตย ความเชื่อเรื่องจิตและวิญญาณ และการต่อต้านความรุนแรงและการเปลี่ยนแปลงศาสนาเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง ท่านฟัตฮุลลอฮฺ กูเลน ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างวัฒนธรรมไปจนถึงโลกแห่งความสันติ และต่อต้านความขัดแย้ง