Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   ผู้ตรวจการแผ่นดิน วินิจฉัย พรบ.ฮัจย์ ไม่ขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย

ผู้ตรวจการแผ่นดิน วินิจฉัย พรบ.ฮัจย์ ไม่ขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย

             สำนักข่าวอะลามี่ :  ผู้ตรวจการแผ่นดินสั่งให้ยุติเรื่องร้องเรียน ของสมาคมปกป้องพระพุทธศาสนา หลังร้องเรียนให้ตรวจสอบ และร้องขอให้พิจารณาตีความตามรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิกพรบ.ฮัจย์ทั้ง 3 ฉบับ

              เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2560 ผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้แจ้งผลวินิจฉัย แก่ สมาคมปกป้องพระพุทธศาสนา ในฐานะผู้ร้องขอให้พิจารณาตีความตามรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิกพรบ.ฮัจย์ทั้ง 3 ฉบับ โดยผู้ตรวจสอบแผ่นแดิน ได้มีการพิจารณาตามประเด็นการร้องเรียน วินิจฉัยให้ยุติเรื่องร้องเรียนของผู้ร้องเรียน ตามมาตรา ๓๗ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๖๐ และให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งผลการวินิจฉัยให้ผู้ร้องเรียนทราบต่อไป 



เปิดคำวินิจฉัย ผู้ตรวจการแผ่นดิน

คำวินิจฉัยผู้ตรวจการแผ่นดิน

สำนักกฎหมายและคดี

เรื่องร้องเรียนเลขดำที่ ๙๘๗/๒๕๖๓

เรื่องร้องเรียนเลขแดงที่๑๓๕๓ / ๒๕๖๓

วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๓

            เรื่อง  นางสาวพาศึกา สุวจันทร์ นายกสมาคมปกป้องพระพุทธศาสนา และคณะ ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้เสนอเรื่องพร้อมตัวยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ ๒๕๒๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้หน่วยงานของรัฐทำหน้าที่ส่งเสริมกิจการฮัจย์และอำนวยความสะดวกให้แก่ประขาขนที่ประสงค์จะไปประกอบพิธีฮัจย์ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑ มาตรา ๓ มาตรา ๔ มาตรา ๕ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ มาตรา ๗๖ และมาตรา ๗๗

พิเคราะห์ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้วจะได้วินิจฉัยไปตามประเด็นที่ร้องเรียน ดังนี้

            กรณีตามคำร้องเรียนนี้ เป็นเรื่องขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. ๒๕๒๔และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕o มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖o มาตรา ๑ มาตรา ๓ มาตรา ๔ มาตรา ๕ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ มาตรา ๗๖ และมาตรา ๗๗ นั้นเห็นว่า

            แม้ในประเด็นที่ผู้ร้องเรียนอ้างว่า พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ ผู้ร้องเรียนมิได้ระบุไว้โดยขัดแจ้งว่า ประเด็นปัญหาตามคำร้องเรียนปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตราใด

              แต่การที่ผู้ร้องเรียนกล่าวอ้างว่าเรื่องดังกล่าวมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ ซึ่งยังคงมีการบัญญัติรับรองหลักการเดียวกันนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๗และมาตรา ๓๓ ถือได้ว่าผู้ร้องเรียนขอให้พิจารณาประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติดังกล่าว

             ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงชอบที่จะพิจารณาประเด็นปัญหาตามคำร้องเรียนในเรื่องนี้มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไหย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๗ และมาตรา๓๓ หรือไม่ ดังที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำสั่งไว้ในคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๒๓/๒๕๖๑

             กรณีที่ผู้ร้องเรียนอ้างว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. ๒๕๔ มาตรา ๖ มาตรา ๑๔ มาตรา ๓๕ มาตรา ๑๖ และมาตรา ต๗ ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖o มาตรา ๑ มาตรา ๔ มาตรา ๕ มาตรา ๒๘ และมาตรา ๓ เนื่องจากเป็นกฎหมายที่อำนวยความสะตวกและเอื้อประโยชน์แก่ผู้นันถือศาสนาอิสลามเพียงศาสนาเดียว เป็นการเลือกปฏิบัติกระทนต่อสิทธิในการนับถือศาสนาของผู้อื่น และเป็นกฎหมายที่แบ่งแยกการปกครอง นั้น

              เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตรา ๖ ซึ่งได้กำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการส่งเสริมกิจการยัจย์แห่งประเทศไทย และมาตรา ๓๔ ซึ่งกำหนดให้อธิบดีกรมการปกครองเป็นเลขาธิการโดยตำแหน่งและให้กรมการปกครองทำหน้าที่สำนักเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย พร้อมกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมการปกครองและสำนักเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทยไว้ เห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงการแก้ไขเปลี่ยนหน่วยงานที่รับผิดชอบการส่งเสริมกิจการฮัจย์ และกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย รวมถึงอำนาจหน้าที่ของกรมการปกครองและอธิบดีกรมการปกครองเท่านั้น

              ดังนั้นพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ, ๒๕๒๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงไม่มีเนื้อหาที่เป็นการแบ่งแยกดินแดน หรือเป็นการเลือกปฏิบัติ หรือกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคตามที่ผู้ร้องเรียนอ้างแต่อย่างใด

             กรณีที่ผู้ร้องเรียนอ้างว่า พระรชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ (ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๓ มาตรา ๔ มาตรา ๕ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๓๓ เนื่องจากเป็นการทำลายระเบียบการบริหารราชการและความมั่นคงของประเทศ เอื้อต่อศาสนาอิสลามให้มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิหริเหนือกว่าศาสนิกชนในศาสนาอื่น ทำให้ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญไม่เท่าเทียมกัน นั้น

             เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ต. ๒๕๕๙ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ แล้ว เห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดให้รัฐมนตว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์พ.ศ. ๒๕๒๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และโอนกิจการ อำนาจหน้ที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้และภาระผูกพันของกองส่งเสริมกิจการฮัจย์และกองทุนสำหรับผู้ดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ไปเป็นของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเท่านั้น ไม่มีเนื้อหาที่เป็นการกระทบต่ออำนาจอธิปไตย ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้ร้องเรียน หรือขัดต่อหลักนิติธรรม หรือเพิ่มภาระหรือจำคัตสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ร้องเรียนเกินสมควรแก่เหตุตามที่ผู้ร้องเรียนอ้างแต่อย่างใด

              ส่วนกรณีที่ผู้ร้องเรียนองว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ, ๒๕๒๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ และมาตรา ๑๗ ที่กำหนดโทษทางอาญากรณีที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐มาตรา ๗๖ และมาตรา ๗๗ เนื่องจากผิดหลักการไซ้กฎหมายพัฒนาระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน นั้น เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๗๖ และมาตรา ๗ เป็นบทบัญญัติในหมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ ซึ่งบทบัญญัติในหมวดนี้เป็นเพียงแนวทางให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนตนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเท่านั้นมิใช่บทบังคับให้รัฐมีภาระหน้าที่ต้องดำเนินการหรือปฏิบัติแต่อย่างใด

            นอกจากนี้ กรณีที่ผู้ร้องเรียนอ้างว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ, ๒๕๒๔และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๕ และระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการควบคุมกิจการการรับจัดบริการขนส่งในกิจการฮัจย์ การจัดบริการอื่นที่เกี่ยวกับกิจการฮัจย์และการโฆษณาหรือกระทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับกิจการฮัจย์ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. ๒๕๒๔ และ ๒๕๔๑ เป็นการตัดสิทธิ์เสรีภพของผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์และเป็นการออกกฎหมายและระเบียบที่ไม่เป็นไปตามการปกครองของประเทศเพื่อใช้กับคนกลุ่มเดียวที่มีความเชื่อทางศาสนาต่างจากคนส่วนใหญ่ นั้น เห็นว่า ประเด็นข้อร้องเรียนในกรณีนี้ เป็นการร้องเรียนโดยมิได้ระบุว่าพระราชบัญญัติและระเบียบดังกล่าวได้กระทบต่อสิทธิหรือเสรีภาพที่บัญญัติไว้ในมาตราใดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐

            ดังนั้นกรณีตามคำร้องเรียนนี้จึงยังไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรมนูญที่จะให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๓ (๑)แห่งพระราชบัญญัติประอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๐

            อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างตัน จึงวินิจฉัยให้ยุติเรื่องร้องเรียนของผู้ร้องเรียน ตามมาตรา ๓๗ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ๒๕๖๐และให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งผลการวินิจฉัยให้ผู้ร้องเรียนทราบต่อไป

           ลงนามโดย

           พลเอก วิทวัส รชตะนันหน ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน

           นายบูรณ์ ฐาปนตุลย์  ผู้ตรวจการแผ่นดิน

          นายสมศักดิ์ สวรรณสุจริต ผู้ตรวจการแผ่นดิน

          ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2563