Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   จับตา24ส.ค.ความท้าทายประชาธิปไตยในอิยิปต์

จับตา24 ส.ค.'ความท้าทายประชาธิปไตย'ในอิยิปต์

โดย: ศราวุธ โซบเด็น  สำนักข่าวอะลามี่ รายงานจากประเทศอียิปต์

                 สำนักข่าวอะลามี่ :  สถานการณ์การเมืองในอียิปต์หลังผ่านการเลือกแบบประชาธิปไตยครั้งแรก ดูเหมือน กลิ่นไอความขัดขัดแย้งเริ่มทะทุอย่างรุนแรง โดย 24สิงหา2555จะชี้ชะตาว่า..ประชาธิปไตยอียิปต์จะผ่านพ้น หรือเดินเข้าสู่ความขัดแย้งอีกครั้งหรือไม่

 

                สาธารณรัฐอาหรับอิยิปต์นับว่าเป็นศูนย์กลางการปกครองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ จากการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งสำคัญในปี ค.ศ. 1952  โดยคณะนายทหารหนุ่ม Free officers เข้ายึด

                  ซึ่ง นายพลนาญีฟ ผู้นำกองทัพในขณะนั้นเป็นนายกรัฐมนตรีในปี คศ. 1952  ได้มีการจัดตั้งสภาคณะปฎิวัติขึ้น ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก Free officers

                 สภานี้มีบทบาทหน้าที่หลักคือ การออกกฎหมายปฎิรูปการปกครองหลายประการที่สำคัญ โดยใน ค.ศ. 1953 สภาคณะปฎิวัติ ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยประกาศล้มเลิกระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตย และได้สถาปนาระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐแทน

                  โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ส่งผลให้ประเทศอิยิปต์ มี นายพลมูฮัมหมัด นาญีฟ เป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐอาหรับอิยิปต์

                  ต่อมา เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1981  ฮุสนี มูบาร๊อก เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นคนที่ 4  แห่งสาธารณรัฐอาหรับอิยิปต์  จนกระทั่งลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 11  กุมภาพันธ์  คศ. 2011 หลังจากทนแรงกดดันประท้วงขับไล่เป็นเวลา 18 วัน ซึ่งผนึกกำลังกันระหว่างกลุ่ม “6 เมษายน” (รวมตัวจากกลุ่มแรงงาน)  กับกลุ่ม “ชาบ๊าบ เซาเราะฮ์” (นักปฎิวัติสายเลือดใหม่) โดยชูธงนำประชาชนชาวอิยิปต์ทั่วประเทศ ขับไล่ผู้นำเผด็จการและรัฐบาลทรราชสำเร็จ จนนำไปสู่การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมาจากประชาชนครั้งแรก

                 ส่งผลให้ นายมูฮัมหมัด มุรซีย์ ได้รับเสียงส่วนใหญ่ให้เป็นประธานาธิบดี ที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน และเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากพลเรือน

                ประวัติศาสตร์การต่อสู่ทางการเมืองของชาวอิยิปต์ เริ่มมีประเด็นปัญหาหรืออาจจะบอกว่าความขัดแย้งระลอกใหม่ ๆ ขึ้นมาภายในอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เริ่มจากกลุ่นแกนนำประท้วงอย่างกลุ่มนักปฎิวัติสายเลือดใหม่ (ชาบ๊าบเซาเราะฮ์) ขณะนี้แตกแยกออกเป็น 2  กลุ่มอย่างชัดเจน

                กลุ่มที่ 1  ถือว่าการทำหน้าที่ปฎิวัติ โดยประชาชนได้สิ้นสุดสมบูรณ์ สมหวัง สมปรารถนาสู่เป้าหมายอันยิ่งใหญ่แล้ว 

                กลุ่มที่ 2  ยังมองว่า การปฎิวัติโค่นล้มระบอบมูบาร๊อก และนำไปสู่การเลือกตั้ง ซึ่งได้ผู้นำคนใหม่คือ มูฮัมหมัด มุรซีย์ เป็นการ “หนีเสือปะจระเข้”

               ในฐานะผู้เขียนใช้ชีวิตอยู่ในอิยิปต์มาก็หลายปีดีดัก คิดว่าความขัดแย้งรูปแบบนี้เป็นสีสันทางการเมือง

                เนื่องจากประชาชนชาวอิยิปต์ ได้มีโอกาสเต็มและลิ้มรสประชาธิปไตยครั้งแรกในการใช้สิทธิใช้เสียงเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เลือกสมาชิกสภาที่ปรึกษาและที่สำคัญได้คัดสรรประธานาธิบดีขึ้นเป็นผู้นำ โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย 

                แต่ความขัดแย้งระลอกใหม่ครั้งนี้  นำไปสู่การเรียกร้องนัดชุมนุมใหญ่อย่างเปิดเผยอีกครั้งในวันที่ 24 สิงหาคม 2012 นี้

               โดยนักปฎิวัติสายเลือดใหม่กลุ่มที่ 2  จุดกระแส “ร่วมต่อต้านกระบวนการ อัล อิควานู้ลมุสลิมูน” (ภราดรภาพมุสลิม)

                 ผมก็ยังมองว่าไม่น่าจะมีปัญหา ถึงยังไงก็กระบวนการ อัล อัควานู้ลมุสลิมูล ได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่ให้เข้ามาบริหารประเทศในนามพรรค “เสรีภาพและยุติธรรม”  ซึ่งครองเสียงข้างมากในสภา  

                แต่การเรียกร้องชุมนุมต่อต้านครั้งมีประเด็นขึ้นมาให้จับตามอง นั่นคือ เชค ฮาเชม อิสลาม  จากสมาชิกคณะกกรรมการ การออกความเห็นและชี้ขาดปัญหาอิสลามแห่งอัลอัซฮัร  เชคฮาเชม กล่าว และให้ทัศนะเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2012  ว่า “.... เลือดของผู้ออกมาชุมนุมต่อต้านประธานาธิบดีมูฮัมหมัด มุรซีย์  ในวันที่ 24 สิงหาคมนี้ เป็นที่อนุญาต และอีกคำกล่าวหนัก ๆ คือ จำเป็นต้องสังหารสำหรับผู้ร่วมชุมนุมต่อต้านมุรซีย์...”  

                ปรากฏว่า มีนักวิชาการจากสายภราดรภาพมุสลิมบางส่วนให้การสนับสนุนด้วย  ทำให้เกิดการวิเคราะห์และถกเถียงกันในวงกว้างและค่อนข้างรุนแรงตามสื่อสิ่งพิมพ์ และโซเชี่ยลเนตเวริก์ในขณะนี้

                ล่าสุด เลขาธิการสภาวินิจฉัยอิสลาม  เชคอาลีย์ อับดุ้ลบาคีย์ ชะฮาตะฮ์ ออกแถลงการณ์ว่า การให้ทัศนะเช่นนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของ เชค ฮาเชม เพียงผู้เดียว และ การประชุมในวันที่ 16 สิงหาคม 2012 ได้เกิดขึ้นเพื่อขอมติเรื่องดังกล่าว จากคณะกรรมการสภาวินิจฉัยอิสลาม ผลปรากฏว่า มีการลงมติชี้ชัดว่า ห้ามใช้ความรุนแรงจนก่อให้เกิดการสูญเสียเลือดเนื้อเสียชีวิต ไม่ว่าฝ่ายใด จุดประสงค์ใดก็ตาม”  ซึ่งมตินี้ออกตามหลักบัญญัติอิสลาม   เชคอาลีย์ ชะฮาตะฮ์ ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า “ ..ชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนถูกรับรองความปลอดภัยโดยตรงจากคัมภีร์อัลกุรอ่าน..

              ผมได้อ่านบทความของนักวิเคราะห์ชาวอิยิปต์บางคนเห็นว่า ความขัดแย้งที่เริ่มก่อตัวในครั้งนี้หากไม่ได้รับการแก้ไขเยียวยาอย่างลงตัวพอเหมาะพอดี อาจจะนำไปสู่การสงครามภายในและความรุนแรงที่ยากจะแก้ไขได้ในระยะเวลาเพียงสั้น ๆ เนื่องจากปัญหาท้าทายผู้นำพลเรือนได้เกิดขึ้นแล้วแถบแหลมไซนาย

               โดยกลุ่มก่อการร้ายบุกโจมตี ตำรวจตระเวนชายแดนของอิยิปต์ เป็นครั้งที่ 3 เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมนี้ ทำให้เจ่าหน้าที่เสียชีวิตทันที 16 นาย  อีก 2 วันถัดมา ประธานาธิบดีอิยิปต์ สั่งไล่ล่ากลุ่มก่อการร้ายติดอาวุธ จนเกิดการปะทะกันทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 20 คน

               ผมยังหวังว่าวิสัยทัศน์ของ นายมูฮัมหมัด มุรซีย์ น่าจะนำพาประเทศเข้าสู่ภาวะปกติและเดินหน้าได้  ข้อแม้ว่าไม่เต้นตามนักวิชาการสายล่อฟ้าจากสมาชิกกระบวนการภราดรภาพอิสลามบางส่วน 

              ดังนั้นในวันที่ 24 สิงหาคม 2012 นี้เป็นต้นไปกระแสการต่อต้านกระบวนการ อิควานู้ล-มุสลิม จะจุดติดหรือไม่  ยังเป็นที่น่าจับมองไม่ว่าจะในกลุ่มประเทศอาหรับด้วยกัน ตลอดจนชาติมหาอำนาจบางประเทศ

                ในมุมมองของผมเห็นเร็วเกินไป ที่กลุ่มต่อต้านออกมาชุมนุมขับไล่โดยที่ไม่ให้โอกาสผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมได้ปกครองประเทศได้แสดงศักยภาพให้เห็นเป็นลู่ทางว่าผู้นำท่านนี้จะนำพาประเทศอียิปต์ไปในทิศทางใด