Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   พูโลออกแถลงการณ์กระบวนการเจรจาดับไฟใต้จี้รัฐจริงใจ

เวปไซด์พูโลออกแถลงการณ์กระบวนการเจรจาดับไฟใต้จี้รัฐจริงใจ

                     สำนักข่าวอะลามี่ เวปไซด์พูโลออกแถลงการณ์ 'กระบวนการเจรจาหรือ Dialogue Process' เผยการเจรจาไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า เหตุรัฐบาลไทยไม่จริงใจ

                    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 5กันยายน 2555ที่ผ่านมา ขบวนการพูโล ออกแถลงการณ์ ผ่านเวปไซด์  http://puloinfo.net/Default.asp โดยระบุว่า เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับ 'กระบวนการเจรจา' ที่ถามโดยนักข่าวที่อาวุโสท่านหนึ่ง  เรามีความยินดีที่จะประกาศการบรรยายสรุปต่อสาธารณะดังนี้

                   ในขณะที่การต่อสู้เพื่อปลดปล่อยเป็นหน้าที่ของชนชาวมลายูปาตานีทุกๆคนและในอีกแง่หนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาก็ไม่ชอบความรุนแรงเหมือนๆกับกลุ่มชนที่รักสันติอื่น ๆ เพราะแทนที่จะสามารถแก้ปัญหา  ในบางครั้งจะนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ มาทับถมแทน  ในการให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้  เราจึงให้โอกาสเสมอแก่ ' กระบวนการเจรจาหรือ Dialogue Process' ที่ผ่านๆมากับหน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยบางหน่วยผ่านองค์กรไกล่เกลี่ยเอ็นจีโอระหว่างประเทศ  

                ถึงกระนั้น  ถึงแม้ว่าวันเวลาแห่งการพบปะดังกล่าวที่อำนวยความสะดวกโดยองค์กรเหล่านั้นมีมานานพอสมควร  แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร  เนื่องจากฝ่ายรัฐไทยเอง ไม่มีความจริงใจ มีความขัดแย้งของผลประโยชน์กันเองที่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการนี้  แถมมีความเงื่อนงำเป็นชาตินิยม(สุดโต่ง)และการขาดกติกาจริยธรรมความรับผิดชอบ คือสาเหตุของความคืบหน้าในกระบวนการสันติภาพที่เป็นธรรมและยั่งยืนนั้น เกิดการล่าช้าหรือหยุดชะงักลง

              แถลงการณืเวปไซด์พุดล ซึ่งไม่เปิดเผยชื่อผู้ออกแถลงการณ์ยังระบุว่า ในส่วนของการดำเนินการกระบวนการเจรจาระหว่างรัฐไทยและขบวนการปลดปล่อยมลายูปตานีนั้น  จริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ดังที่บางฝ่ายเข้าใจ และแน่นอนไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงเวลานี้  และเพื่อแสดงให้เห็นว่าชนชาวมลายูปาตานี 'ดารุสซาลาม/ดินแดนแห่งสันติ'  มีความปรารถนา ที่จะดำรงชีวิตและทำมาหากินอย่างสงบดังกล่าวข้างต้นเช่นกลุ่มชนอื่นๆ  

             โดย กระบวนการเจรจากับสยามประเทศหรือรัฐไทยในปัจจุบัน  จึงเกิดขึ้นหลายครั้ง  เช่น ในช่วงทศวรรษที่ 1980 เกิดขึ้นระหว่างแนวร่วมปลดปล่อยปาตานีบางกลุ่มกับหน่วยความมั่นคงไทย และในอดีตหากย้อนกลับไปถึงทศตวรรษที่ 1950 หรือหลังการลุกฮือที่รู้จักกันในนามสงครามดุซงญอในปี 1948 ก็เริ่มมีการเจรจากันหลายรอบระหว่างผู้นำทางการเมืองสยามในขณะนั้นกับผู้นำของฝ่ายชนชาวมลายูปาตานีคือโต็ะครูหะยีสุหลง  โดยในที่สุดมีข้อสรุปในลักษณะ การเรียกร้อง 7 ประการ  แต่การเรียกร้องในลักษณะนี้  ไม่เพียงแค่ถูกปฎิเสธ จากฝ่ายรัฐไทยใหม่เท่านั้น  

             หากแต่ได้นำโศกนาฎกรรมการสูญเสียสู่ชนชาวมลายูปาตานี  ท่านโต็ครูหะยีสุหลงและพวกถูกเจ้าหน้าที่รัฐไทยวิสามัญกรรม  ด้วยสถานการณ์ที่ยิ่งเลวร้าย การต่อสู้ในเชิงสันติวิถีตามประเพณีดั้งเดิมของชนชาวปาตานีเสมือนถูกบีบบังคับโดยรํฐไทยด้วยลัทธิชาตินิยมสุดโต่ง  เริ่มด้วยนโยบายกลมกลืนรัฐานิยมตั้งแต่อดีตจนถึงการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯในปัจจุบันนี้  ที่เปิดโอกาสให้จนท.ฝ่ายมั่นคงของรัฐไทย ใช้กำลังเกินขอบเขตมนุษยธรรมและธรรมเนียมไม่เอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐไทย  ทำให้ชนชาวมลายูปาตานี เริ่มปกป้องตนเองและต่อสู้ด้วยการจับอาวุธนับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

              ถึงกระนั้น  ชนชาวมลายูปาตานีที่มีกองกำลังอาวุธเป็นแนวหน้าก็ไม่ตัดประเด็นกระบวนการเจรจาเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยวิธีทางทางการเมือง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับฐานความความคิดและจุดยืนของรัฐไทยว่าจะให้ความสำคัญต่อทางออกนี้สักเพียงไร

              แถลงการณ์กล่าวอีกว่า แน่นอนที่สุด  ตราบใดที่รัฐไทยยังไม่คิดที่จะเคารพและยอมรับสิทธิตามธรรมชาติและเชื้อชาติของชนชาวมลายูปาตานีอย่างเต็มอัตราที่พวกเขามีความภาคภูมิใจในความเป็นปาตานีครั้นในอดีต ปัจจุบันและไปจนถึงอนาคตอันไกล  และการที่รัฐไทยสามารถทำได้แค่เยียวยารักษาแผลเป็นที่ได้กระทำไว้ต่อชนชาวปาตานีด้วยการโรยเงินดังผักชีโรยหน้า  ฤาจะสามารถรักษาให้หายขาดหยั่งลึกถึงจิตใจอย่างถาวรได้?

                และการยอมรับอย่างมีความเข้าใจเพื่ออนาคตร่วมกันนั้น  หวังว่าจะไม่มีการตีค่าของความเป็นปาตานีอย่างถูกๆเช่นการทิ้งท้ายด้วยประโยคที่ว่า "ร่วมพัฒนาชาติไทย" ที่ใครคนหนึ่งเคยลั่นวาจาไว้ในโอกาสการพบปะครั้งที่แล้วอีก  เพราะหากมีจิตใจแน่วแน่ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างผาสุข  สันติและเคียงบ่าเคียงไหล่กับกลุ่มชนอื่นหรือชาติอื่น การเคารพในความภาคภูมใจของกันและกันนั้นย่อมสำคัญ 

 +++++++++++++++++++++++++++

 'Press Briefing Note On Dialogue Process/บรรยายสรุปเกี่ยวกับกระบวนการเจรจา'

              To respond on a question of the 'Dialogue Process' asked by a prominent journalist, we are pleased to announce a public briefing as follows. 

            While it is true that the struggle for liberation is a must for every Patani Malay but at the same time, to show that they dislike violence the same as other peace-loving people do, as violence clearly creates problem rather than resolving it.To stress on this as one of many important issues, we always give the 'Dialogue Process' a chance and in responding the calls from international NGOs and community who arranged both facility and mediation to meet and talk with Thai security agencies, time and efforts spent on this has been long enough. Furthermore, it does not progress as expected, not only because of the Thai state's insincerity but conflict of interests among themselves that hinder this process, together with their ultra-nationalist mindset and the lack of ethical rules and responsibility, are the main causes of the progress in the peace process being delayed or to some extent halted.

              Actually the dialogue process between the Thai state and the Patani Malay Liberation movements is nothing new and certainly it is not something that just happens now for the first time. And to demonstrate that the Malays of Patani 'Darussalam / Land of Peace' have always been with the desire to have a peaceful life, as other ethnic groups, the dialogue process with the Thai government or state, happened from time to time. For example, in the 1980s a dialogue process was held between the Thai security agency with a Patani liberation front a form of agreement reached but then breached. Even if dated back in the 1950s or after an uprising known as 'Dusun Nyor war' in Narathiwat in 1948, leader Haji Sulong of the Patani Darussalam initiated several rounds of dialogue process with then Siamese political leaders, locally and nationally, that resulted in producing the 'Patani' 7-point demand.

                But the peaceful demand as such not only rejected by the Thai nationalistic regime at that time, instead, it was a tragic loss to the Patani Malays as their respectful leader Haji Sulong and comrades were extra-judicially killed by the Thai security-men. As the situation was even worse, the traditionally peaceful way of fighting among the Patani Malays changed its course as if they were forced by Thai ultra-nationalist suppressive policy with no other options than to take arms in rebellion against Thai state ever since. Since the era of Thai ultra-national policies until the present emergency decree that allows excessive use of force among Thai security-men and obviously in violating human right norms, despite so, the Patani liberation movements have not ruled out for dialogue process to find a solution through political means. However, depending on the Thai state views or standpoints that to what extent it is time and important to do the same.

                Of course, as long as the Thai state did not bother to respect and recognize the natural rights of the Patani Malay ethnicity, their past, present and future pride, and the Thai state only willing to heal the scars by dressing and icing the cake with money, can the permanent wounds be cured penetrating to the hearts and minds?

                And the fully recognition for the sake of common bright future, means a lot to us, unless the insulting phrase such as 'Joining the development of Thai State' (means surrender) never be repeated or meant ever again as said by a Thai individual during the last brief meeting session. If heartfelt determination is shown with commitment in order to live in peace and side by side (even) with, any other people or nations, respect for each other's mind and pride will be vital, isn't it.