Life style
Home   /   Life style  /   สู่เส้นทางฝันประสบการณ์นศ.ไทยในจอร์แดน

สู่เส้นทางฝันกับประสบการณ์นักเรียนไทยในจอร์แดน

โดย :     มูฮำหมัดกอดาฟี เซ็งมะ รายงานจากจอร์แดน

            สำนักข่าวอะลามี่ : ผมได้เดินทางสู่เมือง อิรบิบ และเมืองชารอซ ของประเทศจอร์แดน เมื่อเร็วๆนี้ โดยได้เข้าพบกับ อธิบดีมหาวิทยาลัยชารอซ  เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยหวังว่าจะความรู้และประสบการณ์นำไปพัฒนาความคิดของบัณฑิต ในประเทศไทยในอนาคต

           มหาลัยชารอซ เป็นมหาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในประเทศจอร์แดน ที่โดดเด่นการเรียนการสอน โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1993  

           การเดินทางมาในครั้งนี้ รู้สึกปลื้มใจและภาคภูมิใจ  อันเนื่องจากทางมหาวิทยาลัยชารอซ ได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี

          นับเป็นโอกาสที่ดี ที่ผมได้มาที่นี่ เพื่อหวังว่าจะไปพัฒนาการศึกษา ให้กับเยาวชนรุ่นหลัง

          “มนุษย์ก่อนจะจากโลกใบนี้ ทุกคนต้องฝากสิ่งสำคัญ อันพึงเป็นประโยชน์ของผู้คนในโลกนี้”

           อันที่จริงแล้ว ประเทศจอร์แดน เป็นประเทศที่ไม่มีอะไรพิศวงมากนัก นอกจากแร่และทะเลทราย ผมมีโอกาสศึกษาอยู่ในประเทศนี้อยู่หลายเดือน เพื่อที่จะเรียนรูและนำมาเปรียบกับระบบการศึกษาในประเทศไทย เพื่อหวังว่า จะนำมาพัฒนาอนาคตของเยาวชนของไทยในอนาคต

          สังคมการศึกษาในอนาคต ฐานความรู้ และการมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสื่อสาร เป็นทีสำคัญอย่างมาก.  

          สังคมไทยยุคใหม่ จะเป็นสังคมเข้มแข็งและมีคุณภาพ ประเทศไทยจะมีบทบาทสูงในประชาคมโลกสังคมไทยจะเป็นสังคมเข้มแข็ง และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีการปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างการบริหาร การเมืองและการจัดการศึกษาให้มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นโดยเปิดโอกาสให้ทุกส่วนของสังคม มีส่วนร่วมอันจะเป็นระบบที่เอื้อต่อการพัฒนาสังคมไทยที่ยั่งยืน

           ประเด็นเรื่องสำคัญที่ต้องปฏิรูป
          นั่นคือ เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาจากภายนอก ทั้งนี้เพราะระบบการศึกษาที่ผ่านมาไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา หรือ คุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนเท่าที่ควร ทำให้คุณภาพของไทยไม่สามารถแข่งขันได้

           แต่จะทำเฉพาะปฏิรูปการเรียนรู้ ก็จะไม่บังเกิดผลเท่าที่ควร จำเป็นต้องปฏิรูปเรื่องอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกันกับการปฏิรูปการเรียนรู้ โดยเฉพาะการปฏิรูปหลักสูตรและการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

           ไม่เพียงเท่านั้น การประกันคุณภาพการศึกษา ปฏิรูปครู และบุคลากรทางการศึกษา

          ผมได้ตั้งความหวังว่าในปี 2015 จะกลับไปพัฒนาบ้านเกิดของตัวเอง และหวังว่าจะเป็นที่พึ่งของประชาชนในอนาคต 

           ทั้งนี้จะเห็นว่าในระยะเวลาเกือบ 20ปีผ่านมา ประเทศไทย ไม่สามารถเดินไปสู่การเป็นศูนย์แห่งการศึกษา  ขณะที่เพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย กลับประกาศตัวเองเป็นประเทศศูนย์กลางของการศึกษาในภูมิอาเซี่ยน

            อย่างไรก็ตามความฝันของนักศึกษาในต่างแดนคนหนึ่ง ยังคงหวังว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้นำทางทางด้านการศึกษาของเอเชีย และเป็นแหล่งการเรียนรู้ทางเลือกสมัยใหม่ที่ผสมผสาน

            เพียงแต่หากรัฐบาลไทยคิดที่จะทุ่มเท เรื่องงบประมาณพัฒนาการศึกษาให้จริงจังและให้ความสำคัญด้านการศึกษามากกว่าการเอางบไปถมทางสร้างถนน  และเชื่อว่า...ในวันนั้น ความฝันของผม คงอยู่ไมไกลเกินเอื้อมอย่างแน่นอน.