Islamic Economic
Home   /   Islamic Economic  /   สหกรณ์อิสลาม จัดตั้งบอร์ดฟัตวากลาง สร้างมาตรฐานการเงินปลอดดอกเบี้ย

สหกรณ์อิสลาม จัดตั้งบอร์ดฟัตวากลาง สร้างมาตรฐานการเงินปลอดดอกเบี้ย

             สำนักข่าวอะลามี่: สหกรณ์อิสลามภายใต้การขับเคลื่อนของเครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย จัดตั้งบอร์ดฟัตวาชารีอะห์กลาง หวังสร้างมารฐานการดำเนินธุรกรรมทางการเงินที่ปลอดดอกเบี้ยอย่างแท้จริง พร้อมขับเคลื่อนสหกรณ์อิสลามสู่ระบบอาเซียน

             ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู ประธานเครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวถึง การสัมมนาการเงินอิสลาม เพื่อการตรวจสอบและกำกับการดำเนินงานตามหลักชารีอะห์ ในงานสัมมนาการเงินอิสลาม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Halal Monney Seminar 2017) ในงานWORLD HAPEX 2017 ว่า ปัจจุบันสหกรณ์อิสลามเราเดินมาในระดับหนึ่งมีสินทรัพย์เกือบเป็นหมื่นล้านบาท ดังนั้นเราต้องมาดูความเป็นตัวเอง ดูศักยภาพของการทำงาน และ ออติเตอร์ทางด้านชารีอะห์ ว่า เราเดินถูกต้องหรือเปล่า

             อย่างไรก็ตามพบว่ามีหลายส่วนที่ผู้ปฎิบัติหน้าที่ของสหกรณ์ละเลยในสิ่งที่ควรจะทำ ซึ่งถ้าเราเสียกระบวนการในส่วนนั้น ต้องตั้งคำถามตามมาว่า เรายืนยันว่า สหกรณ์อิสลาม มีกำไรแล้ว เรื่องดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร ซึ่งมันมีผลเป็นอย่างมาก เพราะเกี่ยวเนื่องกับชารีอะห์การบริหารและการฟัตวา และรวมถึงการบริหารความเสี่ยง

             “ วันนี้อย่างน้อยที่สุด เราจะได้เห็นรูปร่างของคณะกรรมการฟัตวา ที่เป็นบุคคลภายนอกและจะมีที่เครือข่ายของเราจะนำเอาไปทำต่อ ซึ่งจะทำให้สหกรณ์ต่างๆนำเอาไปปรับและมีฝ่ายที่ดูแลเรื่องความเสี่ยงรวมถึงชารีอะห์ แต่ในส่วนของกรรมการฟัตวา จะอยู่ภายนอก ”

             ผศ.ดร.วรวิทย์ กล่าวว่า การสัมนาในครั้งนี้เป็นการเปิดตัวความคิดในเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการฟัตาชารีอะห์ โดยในประเทศมาเลเซีย เขามีแบบนี้มานานแล้ว รวมถึงธนาคารกลางของเขา แต่ในประเทศไทยไม่เคยมี ทั้งนี้ เราตั้งขึ้นมาเพื่อมารองรับและเป็นของส่วนกลางของสหกรณ์อิสลาม ซึ่งจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้

             “ บอร์ดคณะกรรมการฟัตวา ประกอบด้วย อาจารย์อรุณ บุญชม,ดร.อิสมาแอล อาลี,ดร.มะรอนิง สาแลมิง และ รศ.ดร.ซะกะรียา จากมหาวิทยาลัยฟาตอนี และรวมถึงผมก็อยู่ในคณะนี้ด้วย ทั้งนี้เป็นความตั้งใจที่จะตั้งคณะกรรมการนี้ขึ้นมาและทำให้มันชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งในวันนี้เราจะประกาศให้สังคมรับรู้ว่า เรามีคณะฟัตวากลางขึ้นมาและเกิดขึ้นในเวทีวันนี้”

            สำหรับแนวทางการทำงานของสหกรณ์อิสลามฯ จากนี้ไปเราจะนำแนวคิดของสหกรณ์ไปหารือกับกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อให้บรรจุระบบการเงินอิสลาม เข้าไปใน พรบ.การบริหารกิจการศาสนาอิสลาม เพื่อเราจะเข้าไปช่วยพัฒนาในส่วนของเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอิสลาม จะเพิ่มความเข้มแข็งให้กับชุมชนมุสลิมให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงกิจการอิสลาม และเศรษฐกิจชุมชน

             ผศ.ดร.วรวิทย์ กล่าวว่า การสัมมนาการเวงินอิสลามในครั้งนี้ เราได้รับความสนใจจากสมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศ ทั้งนี้เวทีดังกล่าวเราจะมีโอกาสแลกเปลี่ยนความเห็น ซึ่งส่วนหนึ่งจากประสบการณ์ของหลายๆสหกรณ์มีปัญหาเดียวกันก็คือการละเลย และการทิ้งหลัก และถือปฏิบัติแบบเดิมมาเรื่อยๆ


             โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบการเงินอิสลาม เราจะต้องมีความชัดเจนเรื่องระบบ กำไรกับดอกเบี้ย จะต้องแยกกันให้ออก อันไหนคืออันไหน ยกตัวอย่าง กลางน้ำ ถ้ากระบวนการมันดี ปลายน้ำก็ดีตามไปด้วย ซึ่งนี่ก็เป็นปัญหากันแทบทุกสหกรณ์ อย่างในกรณีการให้เงิน การอะกัด ซึ่งเป็นความเสี่ยงทำให้เกิดการทุจริตเกิดขึ้น ดังนั้นเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางระบบให้รัดกุมชัดเจน และต้องมีการทบทวนระบบสหกรณ์อิสลามกันใหม่ ด้วยการเริ่มต้นปิดช่องว่างให้มากขึ้น และทำให้ถูกต้องมากกว่าเดิม

              ต่อคำถามที่ว่า ในฐานะที่เราเป็นเครือข่ายสหกรณ์แห่งประเทศไทย บริบทในการทำงานของเครือข่ายต่อสมาชิกในปัจจุบันมีบทบาทอย่างไร ผศ.ดร.วรวิทย์ อธิบายว่าคำว่า เครือข่ายไม่มีข้อบังคับในทางกฎหมาย อย่างไรก็ตามในบทบทของคำว่าเครือข่ายหรือสมาพันธ์ แม้ว่าจะดูมีพลังและเข้มแข็งในการขับเคลื่อนความก้าวหน้า แต่เครือข่ายไม่ได้รับการสนับสนุนในด้านการเงินจากไหนรวมถึงสหกรณ์

         “ล่าสุดเราได้หารือกับสมาชิกสหกรณ์ในเรื่องนี้ มีการระดมความคิดเพื่อหาแนวทางในการจัดสรรกำไรมาสนับสนุนเครือข่ายเพื่อดำเนินการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้สิ่งที่เราวางไว้ประสบความสำเร็จ”

                ผศ.ดร.วรวิทย์  กล่าวถึงการขับเคลื่อนสหกรณ์อิสลามในนามเครือข่ายนับตั้งปี2545 ที่ก่อที่ผ่านมา สามารถพูดได้เต็มปากและตอบได้เลยว่ามีการขับเคลื่อนสหกรณ์ไปเยอะเรามีส่วนในหลายเรื่อง รวมถึงการข้ามไปประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน อย่างเช่น กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และที่อื่น

                “ เราพยายามที่จะใช้พลังของเครือข่าย เข้าไปพบปะกับเพื่อนบ้าน ที่มีความลำบากและขัดสน และยกระดับสหกรณ์ ให้เป็นระดับของอาเซียน ขณะที่เพื่อนบ้านของเราเอง ก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือให้เกิดเป็นสัญลักษณ์ใหม่และเป็นฐานเศรษฐกิจของระบบการเงินระดับรากหญ้า ที่เป็นชุมชนให้มีความเข้มแข็งและรวมถึงการร่างกฎหมาย ในการเข้าไปผลักดัน และวางกรอบให้อยู่ในระดับสากลต่อไป” ผศ.ดร.วรวิทย์ กล่าว.